วันศุกร์ที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๐
ชาวไทพ่าเก เป็นชาวไทกลุ่มหนึ่งที่อพยพมาอาศัยอยู่ที่ประเทศอินเดีย โดยอพยพเข้าทางทิวเขาปาดไก่ ทางตอนเหนือของประเทศพม่าปัจจุบัน ถิ่นเดิมของชาวไทพ่าเกอยู่ที่เมืองเมาหลวง ต่อมาได้ติมตามกษัตริย์อาหมมาอยู่ที่เมืองกอง (โมกอง) บริเวณถ้ำผาใหญ่ และผานั้นเป็นผาอันเก่าแก่มาก จึงได้ชื่อว่า ชาวไทพ่าเก ถึงปี พ.ศ. 2358 จึงอพยพข้ามทิวเขาปาดไก่จึงอพยพสู่เมืองนุ�! ��สวนคำ ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่รัฐอรุณาจัลประเทศ ต่อมาถูกน้ำท่วมบ้านเรือนเสียหาย จึงอพยพมาอยู่ริมลำน้ำจิก ครั้งอังกฤษเข้ามาปกครองเมืองนุนสวนคำ จึงย้ายไปอยู่ริมแม่น้ำทิหิงจนถึงปัจจุบัน
หมู่บ้านไทพ่าเกใต้
ชาวพ่าเกใต้ ผู้หญิงจะนุ่งผ้าซิ่นลาย ผู้ชายนุ่งโสร่งแบบพม่า หรือมิฉะนั้นก็จะนุ่งโจงกระเบนขาว หรือที่เรียกว่า ผ้าโธตีแบบฮินดู
การแต่งกายของชาวพ่าเกใต้
ที่หมู่บ้านพ่าเกใต้ มีลักษณะบ้านแตกต่างจากบ้านของชาวไทอาหมในโกหาติ คือเป็นแบบไทยในชนบท คือปลูกแบบยกพื้นมีใต้ถุนสูง มีนอกชานนอยู่นอกบ้าน ตัวบ้านทำด้วยไม้จริง และไม้ไผ่
บ้านเรือนของชาวพ่าเกใต้
ชาวบ้านที่นั้นยังพูดภาษาไทพ่าเกอยู่ แต่คำเก่าเริ่มสูญไปเรื่อยๆ ส่วนคำใหม่ก็ไม่มีใครคิดขึ้น จึงมีภาษาอัสสัมมิส ภาษาพม่า และภาษาอังกฤษ ปะปนอยู่มาก และในวันข้างหน้าภาษาไทที่นี้อาจจะดับสูญไปก็ได้ เพราะภาษาไทพ่าเกจะมีชีวิตต่อไปได้ ภาษามักต้องขยายตัวเพิ่มคำขึ้นในภาษา ถ้าสร้างเองไม่ทัน หรือไม่เหมาะก็มักต้องยืมภาษาอื่นแต่ถ้าไม่มีการสร้างใหม่ ไ�! �่นานก็จะกลายเป็นภาษาตาย และเลิกใช้กันในที่สุด
ทอฝ้าย
ความเป็นสังคมเครือญาติของไทพ่าเกเหนือมีสูงมาก กับคนที่มาเยี่ยม ทั้งหมดจะถือว่าเป็นญาติพี่น้อง จึงเรียกแขกว่า "ปี่หน่อง" ผู้หญิงที่นั่นจะไม่ร่วมรับประทานอาหารพร้อมผู้ชายเพราะต้องคอยดูแลให้ผู้ชายรับประทานอาหารก่อน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น