วันอังคารที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐


(คน) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 5 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก (ควาย) และก่อนหน้า (ระฆัง) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรต่ำ ในระบบไตรยางค์ ออกเสียงอย่าง ค (ควาย) นิยมเรียกกันว่า "ฅ คน"
ฅ เป็นอักษรที่เลิกใช้แล้ว ไม่มีคำศัพท์ในหมวดคำ ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน แต่ยังมีการใช้ ฅ อยู่บ้างในบางแวดวง นัยว่าเพื่อเป็นการอนุรักษ์ให้ตัวอักษรไทยมีใช้ครบ 44 ตัว เท่าที่พบเห็น มักจะใช้ในคำว่า ฅน (คน) โดยเฉพาะในสถานบันเทิงต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม ในแบบเรียนอักษรไทย ยังคงมีอักษร ฅ อยู่
อักษร ฅ นี้เป็นอักษรของไทยดั้งเดิม ไม่ปรากฏในชุดอักษรภาษาอื่น ๆ (หมายความว่า ในชุดอักษรภาษาอื่นๆ ที่ลำดับอักษร แบบอักษรอินเดีย เช่น อักษรเทวนาครี อักษรขอม อักษรมอญ ฯลฯ ล้วนไม่มีตัวอักษร ฅ) น่าจะเป็นการประดิษฐ์แทรกเช่นเดียวกับอักษร ฯลฯ ที่ไทยได้เติมเข้าในวรรคอักษรแบบอินเดีย โดยเหตุผลเพื่อต้องการใช้แทนเสียงที่เรามีอยู่ให้ครบถ้วน โดยมีพัฒนาการควบคู่กันมากับอักษร ฃ (ขวด)

ฅฅ ประวัติการใช้ ฅ
หลักฐานเก่าแก่ที่สุดที่ปรากฏการใช้ ในภาษาไทย คือ ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง หรือศิลาจารึกหลักที่ 1 มีการใช้ ฅ อยู่ 2 คำ ได้แก่ "แฅว" (แคว)และ "ฅุ๋ม" (คุ้ม, ในสมัยนั้น เครื่องหมายกากบาท ตรงกับไม้โทในการเขียนแบบปัจจุบัน)การใช้ ฅ ในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงเป็นไปอย่างแม่นยำ หมายความว่า ไม่มีการใช้ ค ในคำที่ใช้ ฅ นั้นเลย อย่างไรก็ตาม ในสมัยใกล้เคียงกัน มีการใช้ ฅ ในศิลาจารึกหลักอื่น ได้แก่ คำว่า ฅ (คอ),ฅ้อน (ค้อน), ฅา (คา), ฅาบ (คาบเวลา), ฅีน (คืน), แฅน (ดูแคลน), แฅ่ง (แข้ง), แฅว (แคว), ฅวาม (ความ) และ ฅวาง (คว้าง)
ในสมัยหลังศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง เริ่มมีการใช้ และ สับสน และใช้แทนที่กันในหลายแห่ง เช่น ใช้ "ฅ่ำ" บ้าง "ค่ำ" บ้าง ทั้งนี้มีคำว่า ฅวาม เพิ่มเข้ามา ครั้นมาถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา การใช้ ฅ เริ่มลดลงอย่างมาก แต่ก็ยังมีใช้ ทว่าไม่ปรากฏหลักเกณฑ์การใช้ ฅ ในตำราว่าด้วยอักขรวิธีของไทยในสมัยนั้น
ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 5 พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ได้ระบุคำที่เขียนด้วย ฅ ในหนังสือชื่อ นิติสารสาธก เล่ม 1 มีอยู่คำเดียว คือ ฅอ (คอ)
ครั้นถึงสมัย รัชกาลที่ 7 เมื่อมีปทานุกรมของกระทรวงธรรมการ พ.ศ. 2470 ก็ระบุว่า "ฅ เป็นพยัญชนะตัวที่ห้าของพยัญชนะไทย แต่บัดนี้ไม่มีที่ใช้แล้ว" เป็นอันหมดวาระของ นับแต่นั้นมา

ไม่มีความคิดเห็น: