วันอาทิตย์ที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

แรงดึงดูด
ในทางฟิสิกส์ ความโน้มถ่วง คือแรงที่ดึงดูดต่อมวล แรงโน้มถ่วงเป็นหนึ่งในสี่แรงหลัก ซึ่งประกอบด้วย แรงโน้มถ่วง แรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงนิวเคลียร์แบบอ่อน และ แรงนิวเคลียร์แบบเข้ม

กฎความโน้มถ่วงของนิวตัน
ในปี พ.ศ. 2230 ไอแซก นิวตัน ได้ค้นพบกฎความโน้มถ่วงดังนี้ F = G frac{m_1 m_2}{r^2} เมื่อ: F เป็นความโน้มถ่วงระหว่างมวลทั้งสอง
G เป็นค่าคงที่ความโน้มถ่วง
m1 เป็นมวลของวัตถุแรก
m2 เป็นมวลของวัตถุที่สอง
r เป็นระยะห่างระหว่างวัตถุทั้งสอง

วันศุกร์ที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

พ.ศ. 1935
พุทธศักราช 1935 ใกล้เคียงกับ

เมษายน ค.ศ. 1392 - มีนาคม ค.ศ. 1393
ค.ศ. 1392 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินจูเลียน
ค.ศ. 1393 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินจูเลียน
มหาศักราช 1314
ปีวอก จัตวาศก จุลศักราช 754 (วันที่ 28 มีนาคม เป็นวันเถลิงศก) พ.ศ. 1935 เหตุการณ์

วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

ค.ศ. 1902
พุทธศักราช 2445 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1902 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธ ตามปฏิทินเกรกอเรียน
(ตามการนับศักราชแบบเดิม พ.ศ. 2445 เริ่มต้นในวันที่ 1 เมษายน)

บุคคลสำคัญที่เกิดในปีนี้

8 สิงหาคมพอล ดิแรก นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ (เสียชีวิต พ.ศ. 2527)

วันพุธที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

โจฮัน เฮนริช ชูลท์
โยฮันน์ ไฮน์ริช ชูลซ์ (Johann Heinrich Schultz) (พ.ศ. 2227 - พ.ศ. 2287) เป็นผู้ค้นพบเคมีภัณฑ์ทางการถ่ายภาพ เป็นศาสตราจารย์ทางด้านกายวิภาคศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยอัลทอร์ฟ (Altrof) อยู่ใกล้ ๆ กับเมืองนูเรมเบอร์ก เยอรมนี
ชูลซ์เป็นศาสตราจารย์ชาวเยอรมันสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยอัลทอร์ฟ ซึ่งการทดลองของเขาได้เป็นสิ่งที่ปูทางให้แก่การถ่ายภาพในวันข้างหน้า ถึงแม้ว่าจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าสารเคมีที่มีอยู่นั้นจะมีสีดำขึ้นเมื่อถูกแสงอาทิตย์ แต่มันก็ยังไม่สารเคมีด้านที่ไม่โดนแสงจะหลงเหลือส่วนที่เป็นสีขาวเขาได้ตีพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับการวิเคราะห์ของเอาแต่มันไม่ค่อยเป็นที่รู้จักนักจนกระทั่งเขาเสียชีวิตลง เขาได้บรรยายในหนังสือเอาไว้ว่า "ฉันคลุมแก้วด้วยวัสดุสีดำและเหลือช่องเล็กๆ ไว้ให้แสงลอดผ่านแล้วเขียนชื่อและชื่อสารเคมีทั้งหมดลงบนกระดาษ และใช้มีดคมตัดส่วนที่เป็นหมึกออกไปอย่างระมัดระวังฉันนำกระดาษที่ฉลุลายไปติดตั้งลงบนแก้วด้วยขี้ผึ้ง ไม่นานก่อนที่แสงอาทิตย์จะสาดส่องลงมาที่แก้วแล้วลอดผ่านส่วนที่โดนตัดออกไปของกระดาษแล้วเขียนแต่ละคำหรือประโยคที่ปรากฏขึ้นอย่างรวดเร็วบนผงชอล์กดังนั้นเป็นการแน่นอนและเห็นชัดเจนว่าใครหลายๆคนต้องอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับการทดลองแต่บางคนที่มีความรู้น้อยเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติจะคิดว่านี่เป็นเพียงแค่มายากลบางอย่างเท่านั้น" และชูลท์คิดว่ามันเป็นไปได้ที่จะทาสารละลายไปบนหนัง กระดูก ไม้ เพื่อทำให้เกิดภาพขึ้น
ในที่สุดภาพที่เกิดขึ้นเหล่านั้นก็จางหายไป การทดลองของเขาไม่ประสบผลสำเร็จเวลานั้นยังไม่มีทางที่จะทำให้ภาพสเตนซิลเหล่านี้เกิดขึ้นถาวรได้ การทำให้เกิดเกลือโลหะเงินสีดำ (Black Metallic Silver) ของชูลท์นั้นพิสูจน์ให้เห็นความจริงได้ในปัจจุบัน จากการสังเกตุของชูลท์ที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ เขาส่งสิ่งที่ค้นพบเหล่านั้นไปยัง Nurnberg Imperial Academy แต่ก็ยังไม่มีการนำหลักการนี้มาใช้หรือพิจารณากันในเวลานั้น แต่ก็เป็นผลดีต่อการคิดค้นทางการถ่ายภาพ
ในช่วงแรกของ พ.ศ. 2343 สามารถค้นพบว่าความไวแสงของสารซิลเวอร์ไนเตรทสามารถเพิ่มขึ้นได้โดยการนำไปผสมกับธาตุฮาโลเจน (คลอรีน โบรไมน์ ไอโอดีน และอื่นๆ) ส่วนผสมนี้รู้จักกันในชื่อ ซิลเวอร์เฮไลด์(ซิลเวอร์คลอไรด์, ซิลเวอร์โบรไมน์, ซิลเวอร์ ไอโอดีน และอื่นๆ)กระบวนการก็ยังคงล้มเหลวในแต่ละส่วนประกอบ สารซิลเวอร์เฮไลด์ยังจะโดนแสงอยู่ การทำให้รวมตัวกันสามารถถูกขยายได้โดยใช้สารเคมีที่เหมาะสมและสารเฮไลด์ที่ไม่โดนแสงสามารถถูกย้ายออกไปได้ นี่คือพื้นฐานของการพัฒนาฟิล์มถ่ายภาพและกระดาษในทุกวันนี้

วันอังคารที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

โดจินชิ
โดจินชิ (「同人誌」 Dōjinshi) หมายถึง สื่อสัญชาติญี่ปุ่นที่สร้างและจัดจำหน่ายโดยมือสมัครเล่น โดยอาจเป็นมังงะ อะนิเมะ นิยาย หนังสือรวมภาพเขียนหรืองานศิลปะ หรือวิดีโอเกม อย่างไรก็ดีศิลปินอาชีพหลายคนตีพิมพ์โดจินชิเพื่อเผยแพร่ผลงานของตนโดยไม่ผ่านสำนักพิมพ์ คำว่าโดจินชิสร้างมาจากคำว่า 同人 ซึ่งแปลว่า "กลุ่มคนที่มีความสนใจแบบเดียวกัน" และ 誌 ซึ่งแปลว่า "นิตยสาร" หรือ "การเผยแพร่" กลุ่มผู้สร้างโดจินชิมักเรียนตัวเองว่า "เซอร์เคิล" (サークル, circle)
โดจินชิโดยส่วนมากจะเขียนโดยแฟนๆของการ์ตูนที่ได้รับความนิยม โดยนำตัวละครจากการ์ตูนที่ชื่นชอบมาเขียนเรื่องราวเพิ่มเติมออกไปตามแต่จินตนาการของแฟนๆ นับเป็นการตอบสนองความต้องการของแฟนการ์ตูนในแบบหนึ่ง อย่างไรก็ดีโดจินชิก็สามารถเป็นเรื่องที่ผู้วาดแต่งขึ้นมากเองก็ได้
โดจินชิเป็นทางเลือกสำหรับศิลปินหรือนักประพันธ์ที่ต้องการเผยแพร่ผลงานโดยไม่ต้องผ่านการกลั่นกรองหรือประเมินคุณค่าจากสำนักพิมพ์ การเผยแพร่ทำได้โดยจำหน่ายผลงานของตนได้ในงานขายตรงโดจินชิ ที่ใหญ่ที่สุดคืองานคอมิเก็ตจัดในหน้าร้อนและหน้าหนาวของทุกปีที่โตเกียวบิ๊กไซต์ มีผู้เข้าร่วมงานไม่ต่ำกว่าครั้งละ 400,000 คน นอกจากนี้ปัจจุบันนักเขียนโดจินชิยังสามารถจำหน่ายผลงานทางอินเทอร์เน็ต หรือทางร้านหนังสือซึ่งขายเฉพาะโดจินชิได้อีกด้วย
นักเขียนการ์ตูนชาวญี่ปุ่นชื่อดังหลายคน อาทิ เคน อาคามัตสึ, คิโยฮิโกะ อะสึมะ, และCLAMP เผยแพร่ผลงานของตนในระยะแรกๆ เป็นโดจินชิ และปัจจุบันก็มีนักเขียนการ์ตูน นักออกแบบตัวละคร และศิลปินมีออาชีพหลายคนที่ยังเขียนโดจินชิควบคู่กับงานหลักไปด้วย เช่น มาริโอะ คาเนดะ, เคจิ โกโต, และ โทนี ทากะ
ปัจจุบันการเขียนโดจินชิได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในประเทศไทย โดยมีการจัดงานขายตรงโดจินเป็นระยะๆ ตลอดทั้งปี อาทิ งานโคมิคอนโรด, งานคอมิกซีซัน เป็นต้น

วันจันทร์ที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐


พุทธศักราช 1181 ใกล้เคียงกับ

เมษายน ค.ศ. 638 - มีนาคม ค.ศ. 639
มหาศักราช 560 ค.ศ. 638 วันเกิด

วันศุกร์ที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐


ซุน โกคู (孫悟空, そんごくう, ซง โงะคู) หรือ "ซุน หงอคง" หรือ "ซุน โงกุน" ตัวละครหลักจากการ์ตูนชุดเรื่องดราก้อนบอล และเป็นตัวละครการ์ตูนที่เป็นที่นิยมที่สุดคนหนึ่ง
ชื่อซุน โกคู มาจากชื่อ ตัวละคร ซุน หงอคง ในนิยายเรื่องไซอิ๋ว ซึ่งสะกดว่า 孫悟空 (ซน โงะกู) ในภาษาญี่ปุ่นเหมือนกัน

ประวัติของซุน โกคู

บาร์ดัค (พ่อ)
ปู่ซุน โกฮัง (ปู่บุญธรรม)
ราดิช (พี่ชาย)
จีจี้ (ภรรยา)
ซุน โกฮัง (ลูกชาย)
วีเดล (ลูกสะใภ้)
ซุน โกเทน (ลูกชาย)
ปัง (หลานสาว) ครอบครัว
ซุน โกคูเป็นชาวไซย่า และโตที่โลก โดยมีชื่อเดิมว่า"คาคาร็อต" (แผลงมาจากคำว่า แครอท) โดยมีบิดาที่ชื่อ บาร์ดัคในตอนเด็กซุนโกคูจะมีหางงอกมาเหมือนลิง ถ้าเขามองพระจันทร์เต็มดวงเมื่อไหร่เขาจะกลายร่างเป็นลิงยักษ์ ไม่สามารถควบคุมสติได้ แต่มีพลังโจมตีมหาศาล ตอนโตขึ้นมา เขาสามารถพัฒนาพลังต่อสู้ จนผ่านพ้นขีดขั้นของชาวไซย่าปรกติได้ จนกลายเป็น ซูเปอร์ไซย่า โดยผมเปลี่ยนเป็นสีทอง และมีพลังโจมตีมหาศาล สามารถเป็นซุปเปอร์ไซย่าได้ทั้งหมด 4 ร่าง
ซุน โกคู ตอนวัยเด็ก
โกคู ซุน โกคู ตอนเป็นซูเปอร์ไซย่า

ประวัติในช่วงเติบโต
ในประเทศไทย ได้มีการแปลชื่อของ ซุน โกคู หลายชื่อ ซึ่งรวมถึง "ซุน โงกุน" และ "ซุน หงอคง" โดยชื่อจากภาษาญี่ปุ่น เขียนในคันจิว่า 孫悟空 หรือในฮิรางานะว่า そんごくう ซึ่งอ่านใกล้เคียงกับคำว่า "ซนโงะกู" ในขณะที่เมื่อเขียนเฉพาะชื่อ 悟空 จะอ่านว่า "โกะกู" (ในภาษาญี่ปุ่น ตัวอักษร จะอ่านเหมือนกับคำว่า โกะ เมื่อขึ้นต้นคำ และ โงะ เมื่ออยู่กลางคำ)
สำหรับการแปลชื่อเป็น "ซุน หงอคง" แปลตามที่มาของภาษาญี่ปุ่น ให้สอดคล้องกับเจตนาของผู้แต่งที่ต้องการเชื่อมโยงตัวละครเข้ากับ ซุน หงอคงในเรื่องไซอิ๋ว โดยในภาษาญี่ปุ่น ซุน หงอคง ในเรื่องไซอิ๋ว สะกดว่า 孫悟空 (ซน โงะกู) เหมือนกัน ภายหลังทางสำนักพิมพ์ ได้มีการเปลี่ยนชื่อตัวละครให้ใกล้เคียงกับรากศัพท์เดิมภาษาญี่ปุ่น
ในภาษาอังกฤษ ผู้แต่งโทริยามา อากิรา ใช้ชื่อว่า "Son Goku"

นักพากย์
มาซาโกะ โนซาวะ

สหรัฐอเมริกา
นิรันดร์ บุญยรัตพันธุ์ (ช่อง9)
ไกวัล วัฒนไกร (วีดีโอสแควร์)
ภัทรวุฒิ สมุทรนาวี (DEX)

วันพฤหัสบดีที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

ฟุกุโอะกะ
ฟุกุโอะกะ อาจหมายถึง


จังหวัดฟุกุโอะกะ จังหวัดในประเทศญี่ปุ่น
เมืองฟุกุโอะกะ เมืองหลวงของจังหวัดฟุกุโอะกะ

วันพุธที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐


ควายธนู เป็นเครื่องรางตามความเชื่อทางไสยศาสตร์ สะท้อนให้เห็นระบบความเชื่อทางไสยศาสตร์ของสังคมเกษตรกรรม อันมีความผูกพันกับวัฒนธรรมข้าว ซึ่งเลี้ยงวัวควายไว้ใช้งานในด้านการเกษตร วิชาเหล่านี้เป็นการทำหุ่นพยนต์รูปแบบหนึ่ง หุ่นพยนต์สามารถทำได้ทั้งรูปคนและสัตว์ ที่นิยมมีทั้งวัวธนูและควายธนู สามารถสร้างได้หลายวิธี เช่น สานจากไม้ไผ่ ปั้นด้วยดินผสมมวลสาร ปั้นจากขี้ผึ้ง ไปจนถึงหล่อขึ้นด้วยโลหะอาถรรพ์ เช่น ตะปูโลงศพเจ็ดป่าช้า ,เหล็กขนันผีพราย ,เหล็กยอดเจดีย์ เป็นต้น เอามาหลอมรวมกันหล่อเป็นรูปควาย บางสำนักใช้โครงเป็นไม้ไผ่แล้วพอกด้วยครั่งที่ได้จากต้นพุททรา เมื่อทำสำเร็จแล้วต้องปลุกเสกตามพิธีกรรม แล้วเลี้ยงไว้ให้ดี ต้องหาหญ้าและน้ำเลี้ยงเสมอ เชื่อว่าสามารถใช้ให้เฝ้าบ้านหรือไร่นา ใช้งานได้ตามความประสงค์ ทั้งป้องกันภูตผีและโจรผู้ร้าย และสามารถสั่งให้ไปสังหารคู่อริได้อีกด้วย มีคาถาใช้เสกเมื่อทำควายธนูว่า
โอมปู่เจ้าสมิงไพร ปู่เจ้ากำแหงให้กูมาทำควาย เชิญพระอีศวรมาเป็นตาซ้าย เชิญพระอาทิตย์มาเป็นตาขวา เชิญพระนารายณ์มาเป็นเขา เชิญพระอินทร์เจ้าเข้ามาเป็นหาง เชิญพระพุทธคีเนตร์ พระพุทธคีนายมาเป็นสีข้างทั้งสอง เชิญพระจัตตุโลกบาลทั้งสี่มาเป็นสี่เท้า เชิญฝูงผีทั้งหลายเข้ามาเป็นไส้พุง นะมะสะตีติ
ความเชื่อเรื่องควายธนูมีอยู่ทุกภาคของประเทศไทย บางท้องถิ่นเชื่อว่าผู้เลี้ยงต้องดูแลอย่างดีหมั่นให้อาหารและปล่อยออกไปท่องเที่ยว จะประมาทหลงลืมไม่ได้ ไม่เช่นนั้นควายธนูจะหวนมาทำร้ายเจ้าของเสียเอง แต่บางแห่งก็ถือเป็นเสมือนเครื่องรางธรรมดาสำหรับใช้พกพาติดตัว
ควายธนู

วันอังคารที่ ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

อโดบี
อะโดบีซิสเต็มส์ (Adobe Systems) เป็นบริษัทซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองซานโฮเซในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 1982 โดย จอห์น วอร์น็อก และ Charles Geschke หลังจากลาออกจากห้องวิจัย Xerox PARC เพื่อพัฒนาภาษาในการแสดงผลที่ชื่อ โพสต์สคริปต์ อะโดบีเริ่มมีชื่อเสียงเมื่อแอปเปิล คอมพิวเตอร์ซื้อสิทธิ์ในการใช้งาน PostScript ไปใช้กับเครื่องพิมพ์ LaserWriter ของตนเอง หลังจากนั้น Adobe มีซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับกราฟิกหลายชนิด และเข้าซื้อกิจการบริษัท แมโครมีเดีย เมื่อปี 2005 นอกจากนี้อะโดบี ติดอันดับบริษัทดีเด่นที่น่าทำงานด้วยหลายปีติดต่อกัน จัดอันดับโดยนิตยสารฟอรบส์
ชื่อ Adobe มีที่มาจากลำธารอะโดบีซึ่งไหลผ่านบ้านของผู้ก่อตั้ง และคำว่า adobe เองในภาษาอังกฤษมีคำหมายถึงดินเหนียวที่ใช้ในงานศิลปะ

วันจันทร์ที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

ถ่านหิน
ถ่านหิน คือ หินตะกอนชนิดหนึ่งและเป็นแร่เชื้อเพลิงสามารถติดไฟได้ มีสีน้ำตาลอ่อนจนถึงสีดำ มีทั้งชนิดผิวมันและผิวด้าน น้ำหนักเบา ถ่านหินประกอบด้วยธาตุที่สำคัญ 4 อย่างได้แก่ คาร์บอน ไฮโดรเจน ไนโตรเจน และออกซิเจน นอกจากนั้น มีธาตุหรือสารอื่น เช่น กำมะถัน เจือปนเล็กน้อย ถ่านหินที่มีจำนวนคาร์บอนสูงและมีธาตุอื่น ๆ ต่ำ เมื่อนำมาเผาจะให้ความร้อนมาก ถือว่าเป็นถ่านหินคุณภาพดี

ถ่านหิน การใช้ประโยชน์ถ่านหิน
ถ่านหินถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีแหล่งสำรองกระจายอยู่ทั่วโลกและปริมาณค่อนข้างมาก การขุดถ่านหินขึ้นมาใช้ประโยชน์ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ถ่านหินราคาถูกกว่าน้ำมัน ถ่านหินส่วนใหญ่จึงถูกนำมาเป็นเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่ใช้หม้อน้ำร้อนในกระบวนการผลิต เช่น การผลิตไฟฟ้า การถลุงโลหะ การผลิตปูนซีเมนต์ การบ่มใบยาสูบ และการผลิตอาหาร เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีการใช้ประโยชน์ในด้านอื่น เช่น การทำถ่านสังเคราะห์ (Activated Carbon) เพื่อดูดซับกลิ่น การทำคาร์บอนด์ไฟเบอร์ (Carbon Fiber) ซึ่งเป็นวัสดุที่มีความแข็งแกร่งแต่มีน้ำหนักเบา และการแปรสภาพถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงเหลว (Coal liquefaction) หรือ เป็นแปรสภาพก๊าซ (Coal Gasification) ซึ่งเป็นการใช้ถ่านหินแบบเชื้อเพลิงสะอาดเพื่อช่วยลดมลภาวะจากการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงได้อีกทางหนึ่ง ภายใต้กระบวนการแปรสภาพถ่านหิน จะสามารถแยกเอาก๊าซที่มีฤทธิ์เป็นกรดหรือเป็นพิษ และสารพลอยได้ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในถ่านหินนำไปใช้ประโยชน์อื่นได้อีก เช่น กำมะถันใช้ทำกรดกำมะถันและแร่ยิปซัม แอมโมเนียใช้ทำปุ๋ยเพื่อเกษตรกรรม เถ้าถ่านหินใช้ทำวัสดุก่อสร้าง เป็นต้น

วันอาทิตย์ที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐

คอเลสเตอรอลคอเลสเตอรอล
คอเลสเตอรอล (อังกฤษ:Cholesterol) เป็นทั้งสาร สเตอรอยด์(steroid) ไลปิด(lipid)และ แอลกอฮอล์ (alcohol) พบใน ผนังเซลล์(cell membrane) ของทุกเนื้อเยื้อในร่างกาย และถูกขนส่งในกระแสเลือดของสัตว์ คอเลสเตอรอลส่วนใหญ่ไม่ได้มากับอาหารแต่จะถูกสังเคราะห์ขึ้นภายในร่างกาย จะสะสมอยู่มากในเนื้อเยื้อของอวัยวะที่สร้างมันขึ้นมาเช่น ตับ ไขสันหลัง (spinal cord) สมอง และ ผนังหลอดเลือดแดง (atheroma) คอเลสเตอรอลมีบทบาทในกระบวนการทางชีวเคมีมากมาย แตที่รู้จักกันดีคือ มันเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคหัวใจและระบบหลอดเลือด (cardiovascular disease) และภาวะ คอเลสเตอรอลในเลือดสูง

การสังเคราะห์และการนำเข้าสู่ร่างกาย
คอเลสเตอรอลละลายในน้ำได้น้อยมากเพราะโมเลกุลของมันมีส่วนที่เป็นไขมันอยู่มาก ดังนั้นการเคลื่อนย้ายของมันในกระแสเลือดจึงต้องเกาะตัวไปกับ ไลโปโปรตีน (lipoprotein) ไลโปโปรตีนขนาดใหญ่ที่สุดที่ทำหน้าที่ขนคอเลสเตอรอลและไขมันอื่นๆเช่น ไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) จากลำไส้เล็กไปยังตับชื่อ ไคโลไมครอน (chylomicron) ในตับอนุภาค ไคโลไมครอน จะจับตัวกับ ไตรกลีเซอไรด์ และคอเลสเตอรอล แล้วเปลี่ยนเป็นไลโปโปรตีน-ความหนาแน่นต่ำ (low-density lipoprotein-LDL) แล้วจะเคลื่อนย้ายไตรกลีเซอไรด์ และคอเลสเตอรอลไปยังเซลล์อื่นๆ ของร่างกาย ส่วนไลโปโปรตีน-ความหนาแน่นสูง (High density lipoprotein-HDL) จะทำหน้าที่ขนส่งคอเลสเตอรอลจากเซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกายกลับมาที่ตับ เพื่อกำจัด
ตามลักษณะการขนส่งเช่นเดียวกันนี้ คอเลสเตอรอลก็ถูกแบ่งออก 2 ชนิดคือ

ในผู้ที่มีสุขภาพดี อนุภาคไลโปโปรตีน-ความหนาแน่นต่ำจะมีขนาดใหญ่และจำนวนน้อย ในทางตรงกันข้าม ถ้าไลโปโปรตีน-ความหนาแน่นต่ำมีขนาดเล็กแต่จำนวนมาก พบว่ามันส่งเสริมให้เกิดโรคหลอดเลือดตีบ (atheroma)
พบว่าถ้าร่างกายมี ไลโปโปรตีน-ความหนาแน่นสูง ขนาดใหญ่จำนวนมากจะมีสุขภาพดี ในทางตรงกันข้ามถ้ามีไลโปโปรตีน-ความหนาแน่นสูงขนาดใหญ่จำนวนน้อยจะส่งเสริมให้เป็นโรคหลอดเลือดตีบง่ายขึ้น
แอลดีแอล คอเลสเตอรอล (LDL cholesterol) เป็นคอเลสเตอรอล ชนิด เลว
เอชดีแอล คอเลสเตอรอล (HDL cholesterol) เป็นคอเลสเตอรอล ชนิด ดี

วันเสาร์ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐

พ.ศ. 1882
พุทธศักราช 1882 ใกล้เคียงกับ

เมษายน ค.ศ. 1339 - มีนาคม ค.ศ. 1340
ค.ศ. 1339 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ตามปฏิทินจูเลียน
ค.ศ. 1340 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินจูเลียน
มหาศักราช 1261
ปีเถาะ เอกศก จุลศักราช 701 (วันที่ 28 มีนาคม เป็นวันเถลิงศก) พ.ศ. 1882 ผู้นำ

วันศุกร์ที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐


มหาสมุทรแอตแลนติก เป็นมหาสมุทรที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1 ใน 5 ของพื้นผิวโลก ชื่อของมหาสมุทรมาจากนิยายปรัมปรากรีก หมายถึง "ทะเลของแอตลาส"
มหาสมุทรแอตแลนติกเป็นแอ่งที่มีรูปร่างเหมือนตัวเอส (S) สามารถแยกได้เป็น 2 ส่วน คือ แอตแลนติกเหนือและแอตแลนติกใต้ โดยใช้บริเวณที่เกิดการเปลี่ยนทิศของกระแสน้ำที่ละติจูด 8° เหนือเป็นแนวแบ่ง ทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้อยู่ทางตะวันตกของมหาสมุทร ส่วนทางตะวันออก คือ ทวีปยุโรปและแอฟริกา มหาสมุทรแอตแลนติกเชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิกตรงมหาสมุทรอาร์กติกที่อยู่ทางเหนือ และทางผ่านเดรก (Drake Passage) ที่อยู่ทางใต้ จุดเชื่อมต่ออีกแห่งหนึ่งที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์ คือ คลองปานามา เส้นแบ่งระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกกับมหาสมุทรอินเดีย คือ เส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรอาร์กติกด้วยเส้นที่ลากจากกรีนแลนด์ ผ่านตอนใต้สุดของสฟาลบาร์ (Svalbard) ไปยังตอนเหนือของนอร์เวย์
เมื่อรวมทะเลที่อยู่ติดกัน มหาสมุทรแอตแลนติกกินพื้นที่ประมาณ 106,400,000 ตารางกิโลเมตร แต่หากไม่รวมทะเล จะมีพื้นที่ 82,400,000 ตารางกิโลเมตร ปริมาตรของมหาสมุทรเมื่อรวมทะเลที่อยู่ติดกันมีค่า 354,700,000 ลูกบาศก์กิโลเมตร แต่หากไม่รวมทะเล คิดเป็นปริมาตร 323,600,000 กม.³
มหาสมุทรแอตแลนติกมีความลึกเฉลี่ย (เมื่อรวมทะเลที่อยู่ติดกัน) 3,332 เมตร (10,932 ฟุต) และเมื่อไม่รวมทะเล เท่ากับ 3,926 เมตร (12,881 ฟุต) จุดที่ลึกที่สุด คือ เปอร์โตริโกเทรนช์ (Puerto Rico Trench) มีความลึก 8,605 เมตร (28,232 ฟุต) ความกว้างของมหาสมุทรมีค่า 2,848 กิโลเมตร เมื่อวัดจากบราซิลถึงไลบีเรีย และ 4,830 กิโลเมตร เมื่อวัดจากสหรัฐ ฯ ถึงตอนเหนือของแอฟริกา
มหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรแอตแลนติก
มหาสมุทรอาร์กติก
มหาสมุทรอินเดีย
มหาสมุทรแปซิฟิก
มหาสมุทรใต้

วันพฤหัสบดีที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐

พ.ศ. 1298พ.ศ. 1298
พุทธศักราช 1298 ใกล้เคียงกับ

เมษายน ค.ศ. 755 - มีนาคม ค.ศ. 756
มหาศักราช 677 วันเกิด

กรุงปารีส
ปารีส เป็นเมืองหลวง ของประเทศฝรั่งเศส เมื่อรวมเขตเมืองรอบ ๆ แล้วมีประชากรทั้งหมด 11.5 ล้านคน (ข้อมูลเดือนมกราคม ค.ศ. 2004) ตัวนครปารีสเองมีฐานะเป็นจังหวัด (Département) หนึ่ง
นครปารีสเป็นศูนย์กลางทางการเงินและธุรกิจของทวีปยุโรปคู่กับลอนดอน. ปารีสมีผลิตภัณฑ์มวลรวมมากกว่าประเทศออสเตรเลียทั้งประเทศ และตลาดหลักทรัพย์ Euronext ยังเป็นตลาดที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของยุโรป
ปารีสเป็นหนึ่งใน 4 นครสำคัญของโลก อีกสามนครคือ ลอนดอน, โตเกียว และ นิวยอร์ก

วันอังคารที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐

เจ็ดพระธาตุ
เจ็ดพระธาตุ หมายถึงพระบรมธาตุเจดีย์ที่สำคัญในภาคเหนือ 7 แห่ง แต่ละแห่งเป็นที่เคารพบูชาอย่างสุงสุดของชาวล้านนา แต่ละพระบรมธาตุมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่สำคัญ มีอายุการก่อสร้างมากกว่าพันปี สะท้อนถึงความรุ่งเรืองทางอารยธรรมของอาณาจักรล้านนาได้อย่างเห็นได้ชัด แต่ละแห่งมีตำนานกล่าวว่าเป็น สถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอันได้แก่
พระบรมธาตุหริภุญชัย
พระบรมธาตุดอยสุเทพ
พระบรมธาตุศรีจอมทอง
พระบรมธาตุลำปางหลวง
พระบรมธาตุดอยตุง
พระบรมธาตุแช่แห้ง
พระบรมธาตุหริภุญชัย วัดพระบรมธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร เมืองลำพูน บรรจุพระเกศบรมธาตุ (กระดูกส่วนศรีษะ) ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระบรมธาตุดอยสุเทพ วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร เมืองเชียงใหม่ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ องค์ใหญ่ ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระบรมธาตุศรีจอมทอง วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร อำเภอจอมทอง เมืองเชียงใหม่ บรรจุพระทักษิณโมลีธาตุ (กระดูกพระเศียรเบื้องขวา) ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระบรมธาตุลำปางหลวง วัดพระธาตุลำปางหลวง เมืองลำปาง บรรจุพระเกศาธาตุ (ผม) และพระอัฐิธาตุพระนลาตเบื้องขวา พระเมฆิยะ ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระบรมธาตุดอยตุง วัดพระมหาชินธาตุเจ้า (ดอยตุง) เมืองเชียงราย บรรจุพระรากขวัญเบื้องซ้ายธาตุ (กระดูกไหปราร้าข้างซ้าย) ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระบรมธาตุช่อแฮ วัดพระธาตุช่อแฮ เมืองแพร่ บรรจุพระเกศาธาตุ (ผม) และพระบรมสารีริกธาตุพระศอกข้างซ้าย ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระบรมธาตุแช่แห้ง วัดพระธาตุแช่แห้ง เมือง น่าน บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

วันจันทร์ที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐


ซูโครส (อังกฤษ:Sucrose) มีชื่อธรรมดาสามัญว่า น้ำตาลทราย (table sugar) ชื่อทางเคมีคือไดแซคคาไรด์ (disaccharide) ซูโครส 1 โมเลกุล จะประกอบด้วยน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว หรือ โมโนแซคคาไรด์(monosaccharides) 2 โมเลกุลซึ่งได้แก่กลูโครสและฟรุคโตส

ซูโครส องค์ประกอบ(Composition)
ในประเทศไทยและประเทศในแถบเมืองร้อนสามารถผลิตซูโครสในระดับอุตสาหกรรมได้จาก อ้อย (sugar cane) ส่วนประเทศในแถบเมืองหนาวจะใช้ หัวบีทเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต น้ำตาลที่ได้จากอุตสาหกรรมเหล่านั้นเรียกว่า "น้ำตาลทราย" โดยระหว่างกระบวนการผลิตจะถูกทำให้ขาวโดยการฟอกสีและนำไปตกผลึก (crystallized) ก่อนที่จะบรรจุเพื่อส่งจำหน่าย

วันอาทิตย์ที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐

ค.ศ. 1403ค.ศ. 1403
พุทธศักราช 1946 ใกล้เคียงกับ

เมษายน ค.ศ. 1403 - มีนาคม ค.ศ. 1404
ค.ศ. 1403 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินจูเลียน
ค.ศ. 1404 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินจูเลียน
มหาศักราช 1325
ปีมะแม เบญจศก จุลศักราช 765 (วันที่ 29 มีนาคม เป็นวันเถลิงศก) เหตุการณ์

วันเสาร์ที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐


พุทธศักราช 765 ใกล้เคียงกับ

เมษายน ค.ศ. 222 - มีนาคม ค.ศ. 223
มหาศักราช 144 พ.ศ. 765 วันเกิด

วันศุกร์ที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐


มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ (Mozilla Firefox) หรือรู้จักกันในชื่อว่า ไฟร์ฟอกซ์ เป็นเว็บเบราว์เซอร์ แบบกราฟิกส์ ที่สามารถใช้ได้ในหลายระบบปฏิบัติการ ซึ่งพัฒนาโดยมูลนิธิมอซิลลาและอาสาสมัครอีกหลายร้อยคน ปัจจุบันอยู่ใต้การดำเนินงานของบริษัทมอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ในปัจจุบันรับรองการใช้ 36 ภาษา นับตั้งแต่ออกรุ่น 1.0 ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547) รุ่นปัจจุบันคือรุ่น 2.0.0.5 ออกเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2550

ที่มาของชื่อ
สัญลักษณ์ของไฟร์ฟอกซ์ออกแบบโดย Jon Hicks ถึงแม้ว่าตัวโปรแกรมจะเป็นซอฟต์แวร์เสรีและโอเพนซอร์ส แต่สัญลักษณ์นี้เป็นเครื่องหมายการค้าของมูลนิธิมอซิลลา ดังนั้นผู้อื่นที่เผยแพร่ซอฟต์แวร์นี้จึงไม่สามารถใช้สัญลักษณ์นี้ได้ (เช่น ไฟร์ฟอกซ์ของโครงการเดเบียน เป็นต้น)

สัญลักษณ์
ตามแผนที่กำหนดไว้รุ่นถัดไปของไฟร์ฟอกซ์คือ 2.0 และ 3.0 ตามลำดับ

การพัฒนาในอนาคต
สำหรับภาษาไทย สามารถใช้งานได้ดี ทั้งการเข้ารหัสแบบยูนิโคดและรหัสแบบธรรมดาคือ TIS-620 และ ISO-8859-11 แต่ไฟร์ฟอกซ์ไม่ได้รองรับการตัดคำท้ายประโยคของภาษาไทยโดยตรง (เนื่องจากอาสาสมัครในทีมงานมอซิลลา มีกลุ่มคนไทยไม่เพียงพอ และการตัดคำนั้นทำให้ขนาดโปรแกรมใหญ่ขึ้น) กลุ่มลีนุกซ์ไทยและอาสาสมัครอิสระ ได้พัฒนาไฟร์ฟอกซ์แยกออกมา ที่รับรองการตัดคำภาษาไทย (ไม่ได้รับรองโดย มูลนิธิมอซิลลา) (ดูเพิ่มเติมที่หัวข้อแหล่งข้อมูลอื่น)

ไฟร์ฟอกซ์กับภาษาไทย
ไฟร์ฟอกซ์ มีความสามารถที่แตกต่างจากเบราว์เซอร์ตัวอื่น ในขณะเดียวกันก็ขาดคุณสมบัติบางประการที่มีในเบราว์เซอร์ตัวอื่น ๆ เช่นกัน เพื่อให้ขนาดไฟล์มีขนาดเล็ก นอกจากความสามารถหลัก ไฟร์ฟอกซ์สนับสนุนความสามารถเสริมอื่น ๆ ด้วยกัน 3 ส่วนที่พัฒนาแยกออกมาจากตัวโปรแกรมไฟร์ฟอกซ์ ได้แก่ เอกซ์เทนชัน (extension), ธีม (theme), ปลั๊กอินส์ (plugin) โดยความสามารถเสริมนี้ ผู้ใช้แต่ละคนสามารถดาวน์โหลดมาใช้ได้ หรือสามารถพัฒนาของตัวเองได้

ความสามารถของไฟร์ฟอกซ์
ไลฟ์บุกมาร์ก (Live Bookmarks) เป็นบุกมาร์กที่มีการอัปเดตตลอดเวลา ใช้สำหรับในการอ่านข้อมูลจาก RSS หรือ อะตอม ได้โดยตรง โดยข้อมูลดังกล่าวจะมีการอัปเดตอยู่ตลอดเวลา โดยไม่ต้องเข้าไปอ่านในเว็บนั้น ๆ ข้อมูลต่อไปนี้ได้แก่ ข้อมูลข่าวจากเว็บต่างๆ ข้อมูลพยากรณ์อากาศ ข้อมูลจากบล็อก หรือข้อมูลจาก เว็บบอร์ด โดยในแต่ละเว็บที่มีการให้บริการจะมีสัญลักษณ์ RSS หรือ Atom ปรากฏไว้ในเว็บนั้น
ตัวอย่างการใช้งานเช่นการฟีดข้อมูลจากเว็บข่าว เว็บบอร์ด หรือเว็บใดก็ตามที่สนับสนุนระบบ RSS หรือ อะตอม โดยเมื่อใส่ข้อมูลเข้าไปในบุกมาร์กแล้ว เวลาเรียกใช้เพียงกดเข้าไปที่บุกมาร์กนั้น และหัวข้อของเว็บปลายทางจะปรากฏ

ไลฟ์บุกมาร์ก
สามารถใช้ความสามารถของเสิร์ชเอนจิน ได้โดยผ่านทางไฟร์ฟอกซ์โดยไม่จำเป็นต้องเข้าไปในเว็บนั้นๆ เอนจินหลักที่เห็นได้แก่ กูเกิล, ยาฮู! วิกิพีเดีย, IMDB นอกจากนี้เสิร์ชเอนจินในไฟร์ฟอกซ์สามารถดาวน์โหลดเพิ่มเติมได้

เสิร์ชเอนจินในตัว
ด้วยความสามารถของแท็บด์เบราว์ซิง (tabbed browsing) ผู้ใช้สามารถเปิดหน้าเว็บเพจได้หลาย ๆ หน้า ภายในหน้าจอเดียวกัน (โดยใช้เมาส์ปุ่มกลาง) ในแต่ละหน้าจะแบ่งแยกเป็นแท็บ โดยความสามารถนี้ ผู้ใช้สามารถเปิดเว็บเพจหลายหน้าพร้อมกันจากบุคมาร์ก ในทีเดียวนอกจากในไฟร์ฟอกซ์ แท็บด์เบราว์ซิงยังมีใน ซาฟารี เนตสเคป นาวิเกเตอร์ รุ่น 8.0 และในอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ 7.0

แท็บด์เบราว์ซิง
ความสามารถในการบล็อกป๊อปอัพ (การป้องกันไม่ให้เว็บเพจเปิดหน้าต่างใหม่เองโดยไม่ได้รับอนุญาต) โดยไม่ต้องใช้โปรแกรมเสริม เริ่มมีในไฟร์ฟ็อกซ์รุ่นเบต้า ความสามารถนี้สามารถเลือกที่จะใช้กับทุกเว็บไซต์ หรือแค่บางเว็บไซต์ได้ ซึ่งต่อมาอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ในวินโดวส์เอกซ์พี SP2 ได้เพิ่มความสามารถนี้เข้าไปด้วยเช่นกัน

กันป๊อปอัพ
ผู้จัดการดาวน์โหลด (Download manager) จัดการไฟล์ที่ดาวน์โหลดทั้งหมด สามารถเลือกได้ระหว่างการเปิดใช้ หรือว่าการจัดเก็บลงในเครื่อง และสามารถดูย้อนหลังได้โดยว่า ไฟล์อะไรบ้างที่ได้ดาวน์โหลดมา และจัดเก็บไว้ที่ใด

การจัดการดาวน์โหลด
เอกซ์เทนชัน (Extension) เป็นความสามารถเพิ่มเติม ที่ผู้พัฒนาอื่น ๆ สร้างขึ้นเพื่อเสริมความสามารถของไฟร์ฟอกซ์ ตัวอย่างของส่วนขยายได้แก่

Customized Google Extension หรือ ตัวปรับแต่งกูเกิล - ช่วยเพิ่มความสามารถของกูเกิลที่ใช้ในไฟร์ฟอกซ์หลายอย่าง เช่น แนะนำคำสำคัญสำหรับการค้นหา ค้นหาคำเดียวกันจากเว็บอื่น ๆ เช่น ยาฮู หรือ เอ็มเอสเอ็น หรือปิดการแสดงโฆษณา
Gmail Notifier Extension หรือ ตัวแจ้งจีเมล - ช่วยเช็คอีเมลจากบริการจีเมล ซึ่งเป็นอีเมลฟรีบริการโดยกูเกิล โดยเมื่อมีอีเมลใหม่เข้ามา ก็จะมีข้อความบอก
พยากรณ์อากาศ - แสดงการพยากรณ์พร้อมสภาพอากาศปัจจุบัน ของสถานที่ที่กำหนด
วิกิพีเดีย - ช่วยให้เขียนและแก้ไขวิกิพีเดียได้โดยสะดวก โดยเตรียมฟังก์ชันสร้าง/แก้ไข ตาราง ภาพและคำอธิบาย รูปแบบตัวอักษร อักษรพิเศษ ไว้ให้เรียกใช้ได้ง่าย ๆ
ตัวช่วยในการดาวน์โหลดสิ่งต่าง ๆ ที่เราต้องการดาวน์โหลดได้ โดยการใช้ไฟร์ฟอกซ์ เอกซ์เทนชัน (FireFox Extension) ที่ชื่อ Flashgot เป็นตัวที่เชื่อมต่อระหว่างเบราซ์เซอร์ไฟร์ฟอกซ์กับโปรแกรมช่วยดาวน์โหลดที่ชื่อ FlashGet หรือ Mass Downloader
Locationbar² - ช่วยถอดรหัสให้สามารถแสดงยูอาร์แอลเป็นอักษรภาษาต่าง ๆ เช่นในเว็บไซต์วิกิพีเดีย
นอกจากนี้ยังมีความสามารถอื่น ๆ เพิ่มเติม ดูได้ที่เว็บของไฟร์ฟอกซ์ เอกซ์เทนชัน
ธีม (theme) เป็นลักษณะหน้าตาของไฟร์ฟอกซ์ โดยบางคราวจะเรียกว่า สกิน (skin) หรือ หน้ากากของเว็บเบราว์เซอร์ ซึ่งมีให้ดาวน์โหลดได้

Firefox มาตรฐานเว็บ
ไฟร์ฟอกซ์สามารถทำงานได้กับหลายระบบปฏิบัติการ ได้แก่
เนื่องจากไฟร์ฟอกซ์เป็นซอฟต์แวร์แบบโอเพนซอร์ส ทำให้ผู้ใช้และนักพัฒนาสามารถปรับแต่งให้ไฟร์ฟอกซ์ใช้ได้กับระบบปฏิบัติการต่าง ๆ ได้แก่ โซลาริส (ทั้ง x86 และ SPARC), OS/2, AIX, FreeBSD

ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ ตั้งแต่วินโดวส์ 98 เป็นต้นไป สำหรับ วินโดวส์ 95 สามารถใช้งานได้แต่ต้องมีโปรแกรมเสริมช่วย
แมคโอเอสเท็น
ลินุกซ์ สำหรับระบบปฏิบัติการที่ใช้ X.Org Server หรือ XFree86

วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐


พุทธศักราช 909 ใกล้เคียงกับ

เมษายน ค.ศ. 366 - มีนาคม ค.ศ. 367
มหาศักราช 288 ค.ศ. 366 วันเกิด

วันพุธที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐

พระอโมฆสิทธิพุทธะ
พระอโมฆสิทธิพุทธะ เป็นพระธยานิพุทธะ 1 ใน 5 องค์ พระนามหมายถึง ผู้มีความสำเร็จอันสมบูรณ์ ประทับทางทิศเหนือของพุทธมณฑล พระกายสีเขียว เป็นตัวแทนของพลังลมแห่งจิตวิญญาณ ที่จะผลักดันมนุษย์ไปสู่ความหลุดพ้น สัญญลักษณ์คือวัชระไขว้ โดยวัชระแนวนอนหมายถึงการมีอยู่และการกระทำทางโลก วัชระแนวตั้งหมายถึงพลังบวกแห่งจิตวิญญาณ โดยรวม วัชระไขว้หมายถึงพลังแห่งชีวิต ทรงครุฑเป็นพาหนะ

วันอังคารที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐


สวีต (suite) เป็นกลุ่มเพลงเต้นรำหลายสไตล์มารวมเป็นชุดเพลง แต่ไม่นิยมนำมาเล่นเพื่อเต้นรำจริง
สวีต (ดนตรี)

วันจันทร์ที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐

ระพี สาคริก
ศาสตราจารย์ระพี สาคริก (4 ธันวาคม พ.ศ. 2465 - ) นักวิจัย นักวิชาการเกษตรผู้บุกเบิกวงการกล้วยไม้ของประเทศไทยสู่สากล อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ระพี สาคริก การทำงาน
ศาสตราจารย์ระพี สาคริกสมรสกับคุณกัลยา มนตริวัตร บุตรีขุนพิชัยมนตรี หัวหน้าเสรีไทยสายกาญจนบุรีในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 มีบุตร 4 คน เป็นชาย 3 คน หญิง 1 คน
เมื่อ พ.ศ. 2533 ศาสตราจารย์ระพี สาคริกได้ลาออกจากตำแหน่งประจำต่างๆ ที่ท่านดำรงทั้งภาคราชการ กึ่งราชการและภาคเอกชน เพื่อหันมาใช้ชีวอตที่สงบและเรียบง่าย เหลือเพียงการเป็นที่ปรึกษาให้วิทยาทานด้วยการบรรยาย สัมมนา โดยเฉพาะด้านการพัฒนาชนบทและเยาวชนที่เน้นด้านคุณธรรมและจริยธรรม

วันศุกร์ที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐

แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส
บริษัท แอดวานซ์ อินโฟ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (Advanced Info Service PLC. ตัวย่อ AIS) เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจให้บริการโทรศัพท์มือถือรายหนึ่งในประเทศไทย เป็นบริษัทในเครือชิน คอร์ปอเรชั่น มีผู้ใช้บริการทั้งหมดประมาณ 17.7 ล้านคน มากเป็นอันดับ 1 ของประเทศ มีส่วนแบ่งตลาด 48% (ข้อมูลเดือนกันยายน พ.ศ. 2549)

บริษัทลูก

จีเอสเอ็ม แอดวานซ์ - โทรศัพท์ระบบจ่ายรายเดือน
1-2-Call - โทรศัพท์ระบบเติมเงิน
สวัสดี
GSM 1800 - โทรศัพท์ระบบ 1800 MHz

วันพฤหัสบดีที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐

พ.ศ. 1668
พุทธศักราช 1668 ใกล้เคียงกับ

เมษายน ค.ศ. 1125 - มีนาคม ค.ศ. 1126
มหาศักราช 1047 วันเกิด

วันพุธที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐


มิลตัน ฟรีดแมน (31 กรกฎาคม พ.ศ. 2455-16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549)เจ้าของประโยคที่โด่งดัง "ในโลกนี้ ไม่มีอะไรที่ได้มาฟรี ๆ" (There's no such thing as a free lunch.) เป็นนักเศรษฐศาสตร์ประจำสำนักเศรษฐศาสตร์เสรีนิยม ของ มหาวิทยาลัยชิคาโก สหรัฐอเมริกา ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ในปีค.ศ. 1976 เขาได้สร้างความก้าวหน้าเป็นอย่างมากในสาขาวิชา มหเศรษฐศาสตร์, จุลเศรษฐศาสตร์, ประวัติศาสตร์และสถิติเชิงเศรษฐศาสตร์ เขาเป็นผู้สนับสนุน ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเสรี (laissez-faire capitalism)ในหนังสือ Capitalism and Freedom เขาสนับสนุนการลดการแทรกแซงและการมีบทบาทของรัฐบาลในตลาดเสรีเพื่อสร้างเสรีภาพทางสังคมและการเมือง ในปีพ.ศ. 2517 เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์สำหรับความสำเร็จในด้านการวิเคราะห์การบริโภค, ประวัติศาสตร์และทฤษฎีด้านเงินตรา และสำหรับการพิสูจน์ให้เห็นถึงความซับซ้อนของนโยบายเสถึยรภาพ

มิลตัน ฟรีดแมน ประวัติ
ฟรีดแมนเกิดในเมืองนิวยอร์ก เป็นลูกคนสุดท้องและลูกชายเพียงคนเดียวในบรรดาพี่น้องทั้งสี่คน มีพื้นเพครอบครัวเป็นชนชั้นแรงงานชาวยิว ซึ่งอพยพย้ายถิ่นมาจากประเทศ ออสเตรีย-ฮังการี จากแคว้นเบเรโฮฟ(Berehove:Bergsaß/Beregszász) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในประเทศยูเครน มารดาชื่อซาราห์ เอเธล แลนเดา (2435-?) บิดาชื่อเยโน ซอล ฟรีดแมน พี่ที่เหลืออีก 3 คน คือ ทิลลี เอฟ. ฟรีดแมน(2462-?) เฮเลน ฟรีดแมน(2463-?) และรูธ ฟรีดแมน(2464-?) หลังจากบิดาเสียชีวิต ทั้งครอบครัวจึงย้ายไปเมืองราห์เวย์ มลรัฐนิวเจอร์ซีย์ http://th.wikipedia.org/skins-1.5/common/images/button_link.png ลิงก์ภายใน เขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยรัตเกอร์ส์เมื่อ พ.ศ. 2475 และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยชิคาโกในปี พ.ศ. 2476 ซึ่งทำให้เขาได้รับอิทธิพลด้านความคิดเป็นอย่างมากจากจาคอบ ไวเนอร์(Jacob Viner) ซึ่งเป็นนักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังชาวแคนาดา, แฟรงค์ ไนท์(Frank Knight) นักเศรษฐศาสตร์คนสำคัญในช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 และเฮนรี่ ไซมอนส์(Henry Simons)เขาไม่สามารถหาอาชีพในแวดวงการศึกษาได้ จนกระทั่งได้ทำงานให้โครงการ ข้อสัญญาใหม่(The New Deal)ชื่อที่ใช้เรียกโครงการบรรเทา, ฟื้นฟู และปฏิรูประบบเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาในยุคเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (The Great Depression)ระหว่างปี พ.ศ. 2476-2480 ในยุคประธานาธิบดีแฟรงคลิน ดี. รูสเวลท์ ต่อมา เขาได้เป็นอาจารย์สอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซินเป็นระยะเวลาสั้นๆ ก่อนจะออกมาเนื่องจากในคณะเศรษฐศาสตร์ที่นั้น มีลัทธิต่อต้านเชื้อชาติยิวอยู่ (Anti-Semitism)และกลับไปเข้ารับงานราชการอีกครั้ง เขาเข้ารับตำแหน่งที่ปรึกษาของเจ้าหน้าที่กระทรวงการคลังระดับสูงในช่วงปี 2484-2486 และในฐานะโฆษกกระทรวงการคลังในปีพ.ศ. 2485 เขาให้การสนับสนุนนโยบายจัดเก็บภาษีแนวทางเคย์นเซียน (Keynesian Policy of Taxation)
ปีพ.ศ. 2489 มหาวิทยาลัยโคลัมเบียได้มอบปริญญาเอกแก่เขา ต่อมา เขาเข้ารับตำแหน่งศาสตราจารย์สาขาเศรษฐศาสตร์ประจำมหาวิทยาลัยชิคาโก ณ ที่นี่ เขาได้ช่วยสร้างชุมชนนักวิชาการที่เกี่ยวดองกันอย่างเหนียวแน่น และหลายคนในกลุ่มก็เป็นผู้ชนะรางวัลโนเบล รู้จักกันในนาม สำนักเศรษฐศาสตร์แห่งชิคาโก้ (Chicago School of Economics) ปีพ.ศ. 2519 เขาชนะรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์"สำหรับสำหรับความสำเร็จในด้านการวิเคราะห์การบริโภค, ประวัติศาสตร์และทฤษฎีด้านเงินตรา และสำหรับการพิสูจน์ให้เห็นถึงความซับซ้อนของนโยบายเสถึยรภาพ" นับแต่ พ.ศ. 2520 ฟรีดแมนได้เข้าร่วมงานกับสถาบันฮูเวอร์ ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ในปี พ.ศ. 2531 เขาได้รับรางวัลเหรียญเกียรติคุณทางวิทยาศาสตร์ระดับชาติ (National Meadal of Science หรือ Presidential Medal of Science)ของสหรัฐอเมริกา และเป็นที่ยอมรับกันว่าเขาเป็นนักเศรษฐศาสตร์ผู้ทรงอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งในศตวรรษที่ 20
ฟรีดแมนมีลูกชายชื่อเดวิด ดี. ฟรีดแมน เป็นนักปรัชญาและนักเศรษฐศาสตร์
มิลตัน ฟรีดแมนถึงแก่กรรมเมื่ออายุได้ 94 ปีที่ซาน ฟรานซิสโก เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ด้วยอาการหัวใจล้มเหลว

วันอังคารที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐


พุทธศักราช 1387 ใกล้เคียงกับ

เมษายน ค.ศ. 844 - มีนาคม ค.ศ. 845
มหาศักราช 766 ค.ศ. 844 วันเกิด

วันจันทร์ที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐


เจ้าพระยาบวรราชนายก (เฉกอะหมัด) เป็นมุสลิมชีอะหฺอิษนาอะชะรียะหฺ (สิบสองอิมาม) เกิดเมื่อ พ.ศ. 2086 ณ ตำบลปานีเนะ ชาฮาร์ ในเมืองกุนี ซึ่งเป็นเมืองศูนย์กลางของศาสนาอิสลามในประเทศอิหร่าน

เฉกอะหมัดเฉกอะหมัด ปฐมจุฬาราชมนตรี
ในปลายแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าปราสาททองโปรดเกล้า ฯ ให้ท่านเฉกอะหมัดซึ่งมีอายุ 87 ปี เป็นเจ้าพระยาบวรราชนายกจางวางกรมมหาดไทย ท่านได้ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อ พ.ศ. 2174 รวมอายุ 88 ปี ท่านเฉกอะหมัดนี้ท่านเป็นต้นสกุลของไทยมุสลิมหลายนามสกุลและสกุลบุนนาค เป็นต้นสกุลของเจ้าพระยาหลายท่านในระยะเวลาต่อมา อาทิ เจ้าพระยาอภัยราชา (ชื่น) เจ้าพระยาชำนาญภักดี (สมบุญ) เจ้าพระยาเพชรพิไชย (ใจ)และมีบรรดาศักดิ์เป็นสมเด็จเจ้าพระยาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ถึง 3 ท่าน คือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ) สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัต บุนนาค) และสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) รวมทั้งเป็นต้นสกุลของสายสกุลที่มีความสำคัญต่อการปกครองประเทศตลอดมา สถานที่ฝังศพของท่านเฉกอะหมัด ตั้งอยู่ในบริเวณสถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

วันศุกร์ที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐

ABC

Data mining -- การทำเหมืองข้อมูล
Decision tree -- การตัดสินใจแบบลำดับขั้น
Fuzzy electronics
Fuzzy logic
Fuzzy systems DEF

Genetic algorithms -- ขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรม GHI

Knowledge representation
Knowledge-based systems
Learning -- การเรียนรู้ JKL

Machine learning -- การเรียนรู้ของเครื่อง ศัพท์ปัญญาประดิษฐ์ MNO

Pattern recognition
Perceptron -- เพอร์เซปตรอน
Reinforcement learning -- การเรียนรู้แบบเสริมกำลัง
Simulated neural network
State space search
Strong AI
Supervised learning -- การเรียนรู้แบบมีผู้สอน
Swarm intelligence TUV

วันพฤหัสบดีที่ ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐

เซียะเหมิน

เซียะเหมิน เป็นเมืองในมณฑลฝูเจี้ยน มีชื่อตามภาษาฮกเกี้ยนว่า อามอย (Amoy) หมายความว่า ประตูคฤหาสน์ เป็นเมืองที่อยู่บนเกาะ ห่างจากเกาะไต้หวันประมาณ 1 กิโลเมตร มีสัญลักษณ์เป็นนกกระยางขาว

เศรษฐกิจ
เซียะเหมินเป็นเมืองท่าสำคัญ และเมื่อปี พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) เซียะเหมินได้กลายมาเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ

วันพุธที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐


ส่วนของ ระบบจำแนกประเภทยาตามการรักษาทางกายวิภาคศาสตร์ (Anatomical Therapeutic Chemical Classification System)
J ต้านการติดเชื้อทั้งระบบ (Anti-infectives for systemic use)

J05A ยาต้านไวรัสจำพวกออกฤทธิ์ตรง
J05AA01 Metisazone

J05AA Thiosemicarbazones
J05AB01 อะไซโคลเวียร์ (Aciclovir)
J05AB02 ไอดอกซูริดีน (Idoxuridine)
J05AB03 ไวดาราบีน (Vidarabine)
J05AB04 ไรบาวิริน (Ribavirin)
J05AB06 แกนซิโคลเวียร์ (Ganciclovir)
J05AB09 แฟมซิโคลเวียร์ (Famciclovir)
J05AB11 วาลาไซโคลเวียร์ (Valaciclovir)
J05AB12 ไซโดโฟเวียร์ (Cidofovir)
J05AB13 เพนซิโคลเวียร์ (Penciclovir)
J05AB14 วัลแกนซิโคลเวียร์ (Valganciclovir)
J05AB15 ไบรวูดีน (Brivudine)
J05AB54 Ribavirin, combinations

J05AB Nucleosides and nucleotides excluding reverse transcriptase inhibitors
J05AC02 ไรแมนตาดีน (Rimantadine)
J05AC03 Tromantadine

ATC รหัส J05 J05AC Cyclic amines
J05AD01 ฟอสคาร์เนท (Foscarnet)
J05AD02 ฟอสโฟเนท (Fosfonet)

J05AD Phosphonic acid derivatives
J05AE01 ซาควินาเวียร์ (Saquinavir)
J05AE02 อินดินาเวียร์ (Indinavir)
J05AE03 ริโตนาเวียร์ (Ritonavir)
J05AE04 เนลฟินาเวียร์ (Nelfinavir)
J05AE05 แอมปรีนาเวียร์ (Amprenavir)
J05AE06 โลปินาเวียร์ (Lopinavir)
J05AE07 โฟแซมพรีนาเวียร์ (Fosamprenavir)
J05AE08 อะทาซานาเวียร์ (Atazanavir)
J05AE09 ทิปรานาเวียร์ (Tipranavir)

J05AG Non-nucleoside reverse transcriptase inhibitors
J05AH01 ซานามิเวียร์ (Zanamivir)
J05AH02 ทามิฟลู (Oseltamivir)