วันอาทิตย์ที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

แรงดึงดูด
ในทางฟิสิกส์ ความโน้มถ่วง คือแรงที่ดึงดูดต่อมวล แรงโน้มถ่วงเป็นหนึ่งในสี่แรงหลัก ซึ่งประกอบด้วย แรงโน้มถ่วง แรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงนิวเคลียร์แบบอ่อน และ แรงนิวเคลียร์แบบเข้ม

กฎความโน้มถ่วงของนิวตัน
ในปี พ.ศ. 2230 ไอแซก นิวตัน ได้ค้นพบกฎความโน้มถ่วงดังนี้ F = G frac{m_1 m_2}{r^2} เมื่อ: F เป็นความโน้มถ่วงระหว่างมวลทั้งสอง
G เป็นค่าคงที่ความโน้มถ่วง
m1 เป็นมวลของวัตถุแรก
m2 เป็นมวลของวัตถุที่สอง
r เป็นระยะห่างระหว่างวัตถุทั้งสอง

วันศุกร์ที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

พ.ศ. 1935
พุทธศักราช 1935 ใกล้เคียงกับ

เมษายน ค.ศ. 1392 - มีนาคม ค.ศ. 1393
ค.ศ. 1392 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินจูเลียน
ค.ศ. 1393 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินจูเลียน
มหาศักราช 1314
ปีวอก จัตวาศก จุลศักราช 754 (วันที่ 28 มีนาคม เป็นวันเถลิงศก) พ.ศ. 1935 เหตุการณ์

วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

ค.ศ. 1902
พุทธศักราช 2445 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1902 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธ ตามปฏิทินเกรกอเรียน
(ตามการนับศักราชแบบเดิม พ.ศ. 2445 เริ่มต้นในวันที่ 1 เมษายน)

บุคคลสำคัญที่เกิดในปีนี้

8 สิงหาคมพอล ดิแรก นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ (เสียชีวิต พ.ศ. 2527)

วันพุธที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

โจฮัน เฮนริช ชูลท์
โยฮันน์ ไฮน์ริช ชูลซ์ (Johann Heinrich Schultz) (พ.ศ. 2227 - พ.ศ. 2287) เป็นผู้ค้นพบเคมีภัณฑ์ทางการถ่ายภาพ เป็นศาสตราจารย์ทางด้านกายวิภาคศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยอัลทอร์ฟ (Altrof) อยู่ใกล้ ๆ กับเมืองนูเรมเบอร์ก เยอรมนี
ชูลซ์เป็นศาสตราจารย์ชาวเยอรมันสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยอัลทอร์ฟ ซึ่งการทดลองของเขาได้เป็นสิ่งที่ปูทางให้แก่การถ่ายภาพในวันข้างหน้า ถึงแม้ว่าจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าสารเคมีที่มีอยู่นั้นจะมีสีดำขึ้นเมื่อถูกแสงอาทิตย์ แต่มันก็ยังไม่สารเคมีด้านที่ไม่โดนแสงจะหลงเหลือส่วนที่เป็นสีขาวเขาได้ตีพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับการวิเคราะห์ของเอาแต่มันไม่ค่อยเป็นที่รู้จักนักจนกระทั่งเขาเสียชีวิตลง เขาได้บรรยายในหนังสือเอาไว้ว่า "ฉันคลุมแก้วด้วยวัสดุสีดำและเหลือช่องเล็กๆ ไว้ให้แสงลอดผ่านแล้วเขียนชื่อและชื่อสารเคมีทั้งหมดลงบนกระดาษ และใช้มีดคมตัดส่วนที่เป็นหมึกออกไปอย่างระมัดระวังฉันนำกระดาษที่ฉลุลายไปติดตั้งลงบนแก้วด้วยขี้ผึ้ง ไม่นานก่อนที่แสงอาทิตย์จะสาดส่องลงมาที่แก้วแล้วลอดผ่านส่วนที่โดนตัดออกไปของกระดาษแล้วเขียนแต่ละคำหรือประโยคที่ปรากฏขึ้นอย่างรวดเร็วบนผงชอล์กดังนั้นเป็นการแน่นอนและเห็นชัดเจนว่าใครหลายๆคนต้องอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับการทดลองแต่บางคนที่มีความรู้น้อยเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติจะคิดว่านี่เป็นเพียงแค่มายากลบางอย่างเท่านั้น" และชูลท์คิดว่ามันเป็นไปได้ที่จะทาสารละลายไปบนหนัง กระดูก ไม้ เพื่อทำให้เกิดภาพขึ้น
ในที่สุดภาพที่เกิดขึ้นเหล่านั้นก็จางหายไป การทดลองของเขาไม่ประสบผลสำเร็จเวลานั้นยังไม่มีทางที่จะทำให้ภาพสเตนซิลเหล่านี้เกิดขึ้นถาวรได้ การทำให้เกิดเกลือโลหะเงินสีดำ (Black Metallic Silver) ของชูลท์นั้นพิสูจน์ให้เห็นความจริงได้ในปัจจุบัน จากการสังเกตุของชูลท์ที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ เขาส่งสิ่งที่ค้นพบเหล่านั้นไปยัง Nurnberg Imperial Academy แต่ก็ยังไม่มีการนำหลักการนี้มาใช้หรือพิจารณากันในเวลานั้น แต่ก็เป็นผลดีต่อการคิดค้นทางการถ่ายภาพ
ในช่วงแรกของ พ.ศ. 2343 สามารถค้นพบว่าความไวแสงของสารซิลเวอร์ไนเตรทสามารถเพิ่มขึ้นได้โดยการนำไปผสมกับธาตุฮาโลเจน (คลอรีน โบรไมน์ ไอโอดีน และอื่นๆ) ส่วนผสมนี้รู้จักกันในชื่อ ซิลเวอร์เฮไลด์(ซิลเวอร์คลอไรด์, ซิลเวอร์โบรไมน์, ซิลเวอร์ ไอโอดีน และอื่นๆ)กระบวนการก็ยังคงล้มเหลวในแต่ละส่วนประกอบ สารซิลเวอร์เฮไลด์ยังจะโดนแสงอยู่ การทำให้รวมตัวกันสามารถถูกขยายได้โดยใช้สารเคมีที่เหมาะสมและสารเฮไลด์ที่ไม่โดนแสงสามารถถูกย้ายออกไปได้ นี่คือพื้นฐานของการพัฒนาฟิล์มถ่ายภาพและกระดาษในทุกวันนี้

วันอังคารที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

โดจินชิ
โดจินชิ (「同人誌」 Dōjinshi) หมายถึง สื่อสัญชาติญี่ปุ่นที่สร้างและจัดจำหน่ายโดยมือสมัครเล่น โดยอาจเป็นมังงะ อะนิเมะ นิยาย หนังสือรวมภาพเขียนหรืองานศิลปะ หรือวิดีโอเกม อย่างไรก็ดีศิลปินอาชีพหลายคนตีพิมพ์โดจินชิเพื่อเผยแพร่ผลงานของตนโดยไม่ผ่านสำนักพิมพ์ คำว่าโดจินชิสร้างมาจากคำว่า 同人 ซึ่งแปลว่า "กลุ่มคนที่มีความสนใจแบบเดียวกัน" และ 誌 ซึ่งแปลว่า "นิตยสาร" หรือ "การเผยแพร่" กลุ่มผู้สร้างโดจินชิมักเรียนตัวเองว่า "เซอร์เคิล" (サークル, circle)
โดจินชิโดยส่วนมากจะเขียนโดยแฟนๆของการ์ตูนที่ได้รับความนิยม โดยนำตัวละครจากการ์ตูนที่ชื่นชอบมาเขียนเรื่องราวเพิ่มเติมออกไปตามแต่จินตนาการของแฟนๆ นับเป็นการตอบสนองความต้องการของแฟนการ์ตูนในแบบหนึ่ง อย่างไรก็ดีโดจินชิก็สามารถเป็นเรื่องที่ผู้วาดแต่งขึ้นมากเองก็ได้
โดจินชิเป็นทางเลือกสำหรับศิลปินหรือนักประพันธ์ที่ต้องการเผยแพร่ผลงานโดยไม่ต้องผ่านการกลั่นกรองหรือประเมินคุณค่าจากสำนักพิมพ์ การเผยแพร่ทำได้โดยจำหน่ายผลงานของตนได้ในงานขายตรงโดจินชิ ที่ใหญ่ที่สุดคืองานคอมิเก็ตจัดในหน้าร้อนและหน้าหนาวของทุกปีที่โตเกียวบิ๊กไซต์ มีผู้เข้าร่วมงานไม่ต่ำกว่าครั้งละ 400,000 คน นอกจากนี้ปัจจุบันนักเขียนโดจินชิยังสามารถจำหน่ายผลงานทางอินเทอร์เน็ต หรือทางร้านหนังสือซึ่งขายเฉพาะโดจินชิได้อีกด้วย
นักเขียนการ์ตูนชาวญี่ปุ่นชื่อดังหลายคน อาทิ เคน อาคามัตสึ, คิโยฮิโกะ อะสึมะ, และCLAMP เผยแพร่ผลงานของตนในระยะแรกๆ เป็นโดจินชิ และปัจจุบันก็มีนักเขียนการ์ตูน นักออกแบบตัวละคร และศิลปินมีออาชีพหลายคนที่ยังเขียนโดจินชิควบคู่กับงานหลักไปด้วย เช่น มาริโอะ คาเนดะ, เคจิ โกโต, และ โทนี ทากะ
ปัจจุบันการเขียนโดจินชิได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในประเทศไทย โดยมีการจัดงานขายตรงโดจินเป็นระยะๆ ตลอดทั้งปี อาทิ งานโคมิคอนโรด, งานคอมิกซีซัน เป็นต้น

วันจันทร์ที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐


พุทธศักราช 1181 ใกล้เคียงกับ

เมษายน ค.ศ. 638 - มีนาคม ค.ศ. 639
มหาศักราช 560 ค.ศ. 638 วันเกิด

วันศุกร์ที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐


ซุน โกคู (孫悟空, そんごくう, ซง โงะคู) หรือ "ซุน หงอคง" หรือ "ซุน โงกุน" ตัวละครหลักจากการ์ตูนชุดเรื่องดราก้อนบอล และเป็นตัวละครการ์ตูนที่เป็นที่นิยมที่สุดคนหนึ่ง
ชื่อซุน โกคู มาจากชื่อ ตัวละคร ซุน หงอคง ในนิยายเรื่องไซอิ๋ว ซึ่งสะกดว่า 孫悟空 (ซน โงะกู) ในภาษาญี่ปุ่นเหมือนกัน

ประวัติของซุน โกคู

บาร์ดัค (พ่อ)
ปู่ซุน โกฮัง (ปู่บุญธรรม)
ราดิช (พี่ชาย)
จีจี้ (ภรรยา)
ซุน โกฮัง (ลูกชาย)
วีเดล (ลูกสะใภ้)
ซุน โกเทน (ลูกชาย)
ปัง (หลานสาว) ครอบครัว
ซุน โกคูเป็นชาวไซย่า และโตที่โลก โดยมีชื่อเดิมว่า"คาคาร็อต" (แผลงมาจากคำว่า แครอท) โดยมีบิดาที่ชื่อ บาร์ดัคในตอนเด็กซุนโกคูจะมีหางงอกมาเหมือนลิง ถ้าเขามองพระจันทร์เต็มดวงเมื่อไหร่เขาจะกลายร่างเป็นลิงยักษ์ ไม่สามารถควบคุมสติได้ แต่มีพลังโจมตีมหาศาล ตอนโตขึ้นมา เขาสามารถพัฒนาพลังต่อสู้ จนผ่านพ้นขีดขั้นของชาวไซย่าปรกติได้ จนกลายเป็น ซูเปอร์ไซย่า โดยผมเปลี่ยนเป็นสีทอง และมีพลังโจมตีมหาศาล สามารถเป็นซุปเปอร์ไซย่าได้ทั้งหมด 4 ร่าง
ซุน โกคู ตอนวัยเด็ก
โกคู ซุน โกคู ตอนเป็นซูเปอร์ไซย่า

ประวัติในช่วงเติบโต
ในประเทศไทย ได้มีการแปลชื่อของ ซุน โกคู หลายชื่อ ซึ่งรวมถึง "ซุน โงกุน" และ "ซุน หงอคง" โดยชื่อจากภาษาญี่ปุ่น เขียนในคันจิว่า 孫悟空 หรือในฮิรางานะว่า そんごくう ซึ่งอ่านใกล้เคียงกับคำว่า "ซนโงะกู" ในขณะที่เมื่อเขียนเฉพาะชื่อ 悟空 จะอ่านว่า "โกะกู" (ในภาษาญี่ปุ่น ตัวอักษร จะอ่านเหมือนกับคำว่า โกะ เมื่อขึ้นต้นคำ และ โงะ เมื่ออยู่กลางคำ)
สำหรับการแปลชื่อเป็น "ซุน หงอคง" แปลตามที่มาของภาษาญี่ปุ่น ให้สอดคล้องกับเจตนาของผู้แต่งที่ต้องการเชื่อมโยงตัวละครเข้ากับ ซุน หงอคงในเรื่องไซอิ๋ว โดยในภาษาญี่ปุ่น ซุน หงอคง ในเรื่องไซอิ๋ว สะกดว่า 孫悟空 (ซน โงะกู) เหมือนกัน ภายหลังทางสำนักพิมพ์ ได้มีการเปลี่ยนชื่อตัวละครให้ใกล้เคียงกับรากศัพท์เดิมภาษาญี่ปุ่น
ในภาษาอังกฤษ ผู้แต่งโทริยามา อากิรา ใช้ชื่อว่า "Son Goku"

นักพากย์
มาซาโกะ โนซาวะ

สหรัฐอเมริกา
นิรันดร์ บุญยรัตพันธุ์ (ช่อง9)
ไกวัล วัฒนไกร (วีดีโอสแควร์)
ภัทรวุฒิ สมุทรนาวี (DEX)

วันพฤหัสบดีที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

ฟุกุโอะกะ
ฟุกุโอะกะ อาจหมายถึง


จังหวัดฟุกุโอะกะ จังหวัดในประเทศญี่ปุ่น
เมืองฟุกุโอะกะ เมืองหลวงของจังหวัดฟุกุโอะกะ

วันพุธที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐


ควายธนู เป็นเครื่องรางตามความเชื่อทางไสยศาสตร์ สะท้อนให้เห็นระบบความเชื่อทางไสยศาสตร์ของสังคมเกษตรกรรม อันมีความผูกพันกับวัฒนธรรมข้าว ซึ่งเลี้ยงวัวควายไว้ใช้งานในด้านการเกษตร วิชาเหล่านี้เป็นการทำหุ่นพยนต์รูปแบบหนึ่ง หุ่นพยนต์สามารถทำได้ทั้งรูปคนและสัตว์ ที่นิยมมีทั้งวัวธนูและควายธนู สามารถสร้างได้หลายวิธี เช่น สานจากไม้ไผ่ ปั้นด้วยดินผสมมวลสาร ปั้นจากขี้ผึ้ง ไปจนถึงหล่อขึ้นด้วยโลหะอาถรรพ์ เช่น ตะปูโลงศพเจ็ดป่าช้า ,เหล็กขนันผีพราย ,เหล็กยอดเจดีย์ เป็นต้น เอามาหลอมรวมกันหล่อเป็นรูปควาย บางสำนักใช้โครงเป็นไม้ไผ่แล้วพอกด้วยครั่งที่ได้จากต้นพุททรา เมื่อทำสำเร็จแล้วต้องปลุกเสกตามพิธีกรรม แล้วเลี้ยงไว้ให้ดี ต้องหาหญ้าและน้ำเลี้ยงเสมอ เชื่อว่าสามารถใช้ให้เฝ้าบ้านหรือไร่นา ใช้งานได้ตามความประสงค์ ทั้งป้องกันภูตผีและโจรผู้ร้าย และสามารถสั่งให้ไปสังหารคู่อริได้อีกด้วย มีคาถาใช้เสกเมื่อทำควายธนูว่า
โอมปู่เจ้าสมิงไพร ปู่เจ้ากำแหงให้กูมาทำควาย เชิญพระอีศวรมาเป็นตาซ้าย เชิญพระอาทิตย์มาเป็นตาขวา เชิญพระนารายณ์มาเป็นเขา เชิญพระอินทร์เจ้าเข้ามาเป็นหาง เชิญพระพุทธคีเนตร์ พระพุทธคีนายมาเป็นสีข้างทั้งสอง เชิญพระจัตตุโลกบาลทั้งสี่มาเป็นสี่เท้า เชิญฝูงผีทั้งหลายเข้ามาเป็นไส้พุง นะมะสะตีติ
ความเชื่อเรื่องควายธนูมีอยู่ทุกภาคของประเทศไทย บางท้องถิ่นเชื่อว่าผู้เลี้ยงต้องดูแลอย่างดีหมั่นให้อาหารและปล่อยออกไปท่องเที่ยว จะประมาทหลงลืมไม่ได้ ไม่เช่นนั้นควายธนูจะหวนมาทำร้ายเจ้าของเสียเอง แต่บางแห่งก็ถือเป็นเสมือนเครื่องรางธรรมดาสำหรับใช้พกพาติดตัว
ควายธนู

วันอังคารที่ ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

อโดบี
อะโดบีซิสเต็มส์ (Adobe Systems) เป็นบริษัทซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองซานโฮเซในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 1982 โดย จอห์น วอร์น็อก และ Charles Geschke หลังจากลาออกจากห้องวิจัย Xerox PARC เพื่อพัฒนาภาษาในการแสดงผลที่ชื่อ โพสต์สคริปต์ อะโดบีเริ่มมีชื่อเสียงเมื่อแอปเปิล คอมพิวเตอร์ซื้อสิทธิ์ในการใช้งาน PostScript ไปใช้กับเครื่องพิมพ์ LaserWriter ของตนเอง หลังจากนั้น Adobe มีซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับกราฟิกหลายชนิด และเข้าซื้อกิจการบริษัท แมโครมีเดีย เมื่อปี 2005 นอกจากนี้อะโดบี ติดอันดับบริษัทดีเด่นที่น่าทำงานด้วยหลายปีติดต่อกัน จัดอันดับโดยนิตยสารฟอรบส์
ชื่อ Adobe มีที่มาจากลำธารอะโดบีซึ่งไหลผ่านบ้านของผู้ก่อตั้ง และคำว่า adobe เองในภาษาอังกฤษมีคำหมายถึงดินเหนียวที่ใช้ในงานศิลปะ

วันจันทร์ที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

ถ่านหิน
ถ่านหิน คือ หินตะกอนชนิดหนึ่งและเป็นแร่เชื้อเพลิงสามารถติดไฟได้ มีสีน้ำตาลอ่อนจนถึงสีดำ มีทั้งชนิดผิวมันและผิวด้าน น้ำหนักเบา ถ่านหินประกอบด้วยธาตุที่สำคัญ 4 อย่างได้แก่ คาร์บอน ไฮโดรเจน ไนโตรเจน และออกซิเจน นอกจากนั้น มีธาตุหรือสารอื่น เช่น กำมะถัน เจือปนเล็กน้อย ถ่านหินที่มีจำนวนคาร์บอนสูงและมีธาตุอื่น ๆ ต่ำ เมื่อนำมาเผาจะให้ความร้อนมาก ถือว่าเป็นถ่านหินคุณภาพดี

ถ่านหิน การใช้ประโยชน์ถ่านหิน
ถ่านหินถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีแหล่งสำรองกระจายอยู่ทั่วโลกและปริมาณค่อนข้างมาก การขุดถ่านหินขึ้นมาใช้ประโยชน์ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ถ่านหินราคาถูกกว่าน้ำมัน ถ่านหินส่วนใหญ่จึงถูกนำมาเป็นเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่ใช้หม้อน้ำร้อนในกระบวนการผลิต เช่น การผลิตไฟฟ้า การถลุงโลหะ การผลิตปูนซีเมนต์ การบ่มใบยาสูบ และการผลิตอาหาร เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีการใช้ประโยชน์ในด้านอื่น เช่น การทำถ่านสังเคราะห์ (Activated Carbon) เพื่อดูดซับกลิ่น การทำคาร์บอนด์ไฟเบอร์ (Carbon Fiber) ซึ่งเป็นวัสดุที่มีความแข็งแกร่งแต่มีน้ำหนักเบา และการแปรสภาพถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงเหลว (Coal liquefaction) หรือ เป็นแปรสภาพก๊าซ (Coal Gasification) ซึ่งเป็นการใช้ถ่านหินแบบเชื้อเพลิงสะอาดเพื่อช่วยลดมลภาวะจากการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงได้อีกทางหนึ่ง ภายใต้กระบวนการแปรสภาพถ่านหิน จะสามารถแยกเอาก๊าซที่มีฤทธิ์เป็นกรดหรือเป็นพิษ และสารพลอยได้ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในถ่านหินนำไปใช้ประโยชน์อื่นได้อีก เช่น กำมะถันใช้ทำกรดกำมะถันและแร่ยิปซัม แอมโมเนียใช้ทำปุ๋ยเพื่อเกษตรกรรม เถ้าถ่านหินใช้ทำวัสดุก่อสร้าง เป็นต้น