วันศุกร์ที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

นครพนม
ความหมายอื่นของ นครพนม ดูที่ นครพนม (แก้ความกำกวม)
นครพนม เป็นจังหวัดในภาคอีสานตอนบน นับเป็นเมืองชายแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์ ความสวยงามของทิวทัศน์ และมีความหลากหลายของวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ รวมทั้งประวัติศาสตร์ที่ยาวนานไม่แพ้จังหวัดอื่นๆ มีพระธาตุพนมเป็นปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมือง
พื้นที่ชายแดนด้านเหนือและตะวันออกของนครพนมติดกับแม่น้ำโขงโดยตลอด ตั้งแต่อำเภอบ้านแพง ลงมาจนถึงอำเภอธาตุพนม สามารถเดินทางข้ามฝั่งโขงไปยังประเทศลาวได้หลายจุด ทางใต้ติดกับอำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร ส่วนทางตะวันตกติดกับจังหวัดสกลนครและหนองคาย

สภาพภูมิศาสตร์

ประวัติศาสตร์
ปูชนียสถานที่สำคัญในจังหวัดนครพนม คือ พระธาตุพนม นอกจากนี้ยังมีพระธาตุอื่นๆ ที่ชาวจังหวัดนครพนมเคารพนับถือ ได้แก่ พระธาตุประสิทธิ์ พระธาตุท่าอุเทน พระธาตุเรณู และพระธาตุมหาชัย เป็นต้น

อุทยาน
พระธาตุพนม ตราประจำจังหวัดนครพนม
นครพนม


ดอกไม้ประจำจังหวัด: กันเกรา (Fagraea fragrans)
ต้นไม้ประจำจังหวัด: กันเกรา (Fagraea fragrans)
คำขวัญประจำจังหวัด: พระธาตุพนมค่าล้ำ วัฒนธรรมหลากหลาย เรณูผู้ไท เรือไฟโสภา งามตาฝั่งโขง

วันพฤหัสบดีที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

ภาษาโครเอเชีย
ภาษาโครเอเชีย เป็นภาษาในกลุ่มสลาวิก เป็นภาษาราชการของประเทศโครเอเชีย และประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา

วันอาทิตย์ที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

.km
บทความนี้ใช้ชื่อที่ใช้อักษรในภาษาอื่น เนื่องจากต้องการคงไว้ตามต้นฉบับ หรือไม่มีชื่อภาษาไทยที่เหมาะสม
.km เป็นโดเมนอินเทอร์เน็ตระดับบนสุดตามรหัสประเทศ (ccTLD) สำหรับประเทศคอโมโรส เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2541

วันเสาร์ที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐


พุทธศักราช 1702 ใกล้เคียงกับ

เมษายน ค.ศ. 1159 - มีนาคม ค.ศ. 1160
มหาศักราช 1081 พ.ศ. 1702 วันเกิด

วันศุกร์ที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

มีนาคม พ.ศ. 2546

มีนาคม พ.ศ. 2546 12 มีนาคม 2546

องค์การอนามัยโลกประกาศเตือนการแพร่ระบาดของโรคซาร์

วันพฤหัสบดีที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

มหาวิทยาลัยคอร์แนล
มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ (Cornell University) เป็นมหาิวิทยาลัยเอกชนตั้งอยู่ที่ เมือง อิทากา ในรัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2408 (ค.ศ. 1865) โดย เอซรา คอร์เนลล์ และ แอนดรูว์ ดิกสัน ไวต์ คอร์เนลล์มีนักศึกษาประมาณ 20,000 คน (ในปี พ.ศ. 2548) คอร์เนลล์มีชื่อเสียงทางด้านวิชาการในหลากหลายด้าน
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ทรงสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ ในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ในปี พ.ศ. 2545 และ 2548 ตามลำดับ


คอร์เนลล์ · โคลัมเบีย · ดาร์ตมัธ · บราวน์ · พรินซ์ตัน · เพนซิลเวเนีย · เยล · ฮาร์วาร์ด

พุทธศักราช 2257 ใกล้เคียงกับ

เมษายน ค.ศ. 1714 - มีนาคม ค.ศ. 1715
มหาศักราช 1636 ค.ศ. 1714 วันเกิด

วันอังคารที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

ฯลฯ
ไปยาลใหญ่ หรือ เปยยาลใหญ่ (ฯลฯ) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนอย่างหนึ่ง ในการเขียนภาษาไทย มีรูปเป็นอักษรไทย ที่อยู่ระหว่างเครื่องหมายไปยาลสองตัว ใช้ละคำต่อท้ายที่ยังมีอีกมาก ยังไม่ปรากฏที่มาที่ชัดเจน
คำว่า ไปยาล มาจาก คำว่า เปยฺยาล ในภาษาบาลี แปลว่า ย่อ

วันอาทิตย์ที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

ไกเซอร์สเลาเทิร์น
ไคเซอร์สเลาเทิร์น (Kaiserslautern) เป็นเมืองทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศเยอรมนี ตั้งอยู่ในรัฐไรน์แลนด์-พาลาทิเนต มีประชากรประมาณ 99,469 คน และเป็นที่ตั้งฐานทัพของนาโต ซึ่งส่วนมากเป็นทหารชาวอเมริกันและครอบครัว มีจำนวนประมาณ 30,000 คน ซึ่งเรียกเมืองนี้ว่า "K-town" เนื่องจากชื่อไคเซอร์สเลาเทิร์นออกเสียงเป็นภาษาอังกฤษยาก

วันเสาร์ที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐


บอดี้สแลม (Bodyslam) เป็นวงดนตรีแนวร็อก (Rock)

Bodyslam สมาชิก
วงละอ่อน เกิดจากการรวมตัวของเด็กนักเรียน 6 คน จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (ละอ่อน เป็นภาษาถิ่นของภาคเหนือ แปลว่าเด็กๆ, คนที่อายุน้อยกว่า และเป็นชื่อวันรับน้องของโรงเรียนสวนกุหลาบฯ ซึ่งเป็นการรับน้องระดับชั้นม.1 โดยรุ่นพี่ปี1และม.6ในขณะนั้น)
พ.ศ. 2539 รายการวิทยุ Hot Wave ได้จัดงานประกวดวงดนตรีระดับมัธยมศึกษาชื่อ Hot Wave Music Awards ขึ้นเป็นครั้งแรก วงละอ่อนจึงได้เข้าร่วมการแข่งขันและได้รับรางวัลชนะเลิศ จากจำนวนวงดนตรีจำนวนมากที่เข้าร่วมแข่งขัน ทำให้วงละอ่อนได้รับการเซ็นสัญญาเป็นศิลปินในสังกัด มิวสิกบั๊กส์ และออกอัลบั้มแรกในชื่อ ละอ่อน โดยมีเพลงดังคือเพลง ได้หรือเปล่า และ นิดนึงพอ เป็นการรวมตัวกันของนักดนตรี (ส่วนหนึ่ง) ของวงละอ่อน ซึ่งเคยชนะเลิศการประกวด Hot Wave Music Award ครั้งที่ 1 และมีผลงานมาแล้วถึง 2 อัลบั้ม หลังจากนั้นสมาชิกในวงก็ได้แยกย้ายกันไปเรียนต่อ ตามความถนัดของแต่ละคน ทำให้วิถีการดำเนินชีวิตแตกต่าง และห่างกันไปโดยไม่ตั้งใจจนกระทั่ง"ตูน" นักร้องนำของวง ได้หวนกลับมาสนใจเล่นดนตรีอีกครั้ง และเริ่มแต่งเพลงอีกครั้ง จากนั้นไม่นานก็ได้ "เภา" ก็ได้มาช่วยงานเพลง และ"ปิ๊ด" ก็กลับมาช่วยทำงานเพลงในรูปแบบใหม่ และเปลี่ยนชื่อวงเป็น Bodyslam ซึ่งแนวดนตรีได้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง
ที่มาของชื่อบอดี้สแลม จากคำอธิบายของพวกเขาเอง ที่มาของชื่อนี้มาจาก"ท่าๆ หนึ่งของมวยปล้ำ แต่ถ้าแปลความหมายตรงตัว BODY แปลว่าร่างกาย SLAM คือการทุ่ม เมื่อพอมารวมกันเป็น BODYSLAM ก็หมายถึง การทุ่มสุดตัว คือการทำงานเพลงกันเต็มที่ แบบทุ่มสุดตัว

ประวัติ
Bodyslam
อัลบั้ม Bodyslam
พ.ศ. 2546 ภายในระยะเวลา 1 ปีให้หลังบอดี้สแลม ได้ออกอัลบั้มแรก ( ตูน ปิ๊ด เภา ) ก็ได้ออกอัลบั้ม Drive (ไดร์ฟ) กับเพลง "ความซื่อสัตย์" เพลงโปรโมทแรกจากอัลบั้ม "Drive" และมีเพลงอื่น ๆที่ได้รับความนิยมอย่างเช่น "ปลายทาง" ,"หวั่นไหว" ซึ่งเป็นเพลงมีการใช้คำเปรย "อยากเห็นคนไทยบินได้" และเพลงอื่น ๆในอัลบั้มอย่างเช่น "ชีวิตที่ฉันเหลืออยู่" "Bodyslam" "จันทร์ยังเต็มดวง" และ "หลังฝน"

อัลบั้ม Drive
พ.ศ. 2548 หลังจากออกอัลบั้ม Drive พวกเขาก็ออกจากค่ายมิวสิกบั๊กส์และเซ็นต์สัญญากับ จีนีส์ เรคอร์ด ซึ่งอยู่ในสังกัด GMM Grammyสังกัดเดียวกับศิลปินรุ่นพี่วงบิ๊กแอส (BIG ASS) มีการเปลี่ยนแปลงภายในวงเกิดขึ้นเมื่อ เภา-รัฐพล พรรณเชษฐ์ มือกีตาร์ของวงก็ได้ขอแยกตัวออกไปทำอัลบั้มเดี่ยว (ในชื่อ Present Perfect) สังกัด ค่ายสนามหลวง โดยมีสมาชิกใหม่เพิ่มเข้ามาคือ ยอด-ธนชัย ตันตระกูล มือกีตาร์ที่เคยเป็นนักดนตรีแบ็คอัพให้กับหลายศิลปิน อาทิ ปาล์มมี่ ฯลฯ ในตำแหน่งมือกีตาร์ กับ ชัช-สุชัฒติ จั่นอี๊ด มือกลองที่เคยแบ็คอัพ ให้กับ BODYSLAM มาตั้งแต่อัลบั้มแรก และหลายศิลปิน อาทิ ปาล์มมี่ ฯลฯ เป็นต้น พวกเขาก็ออกอัลบั้ม Believe กับค่ายเพลงแห่งใหม่ โดยเปิดตัวด้วยซิงเกิ้ลแรกขอบฟ้า ได้รับความสำเร็จเป็นอย่างดี และมีอีกหลายเพลงที่ได้รับความนิยม เช่น "ความรักทำให้คนตาบอด" "พูดในใจ" เพลงที่ชวนกระโดด อย่าง "คนที่ถูกรัก" และเพลงได้มีแขกรับเชิญพิเศษ "แอ๊ด คาราบาว" ในเพลง "ความเชื่อ" ยังมีเพลงอืน ๆ อาทิ"ห้ามใจ" "รักก็เป็นอย่างนี้"

อัลบั้ม Save My Life
บอดี้สแลมมีคิวแสดงคอนเสิร์ตตามงานต่างจังหวัดมากมาย และมีคอนเสิร์ตใหญ่ อยู่ 3 ครั้ง คือ

14 พฤษภาคม 2548 คอนเสิร์ตวันคุ้มครองโลก ( Earth day ) ในชื่อ "Bodyslam Believe Concert" โดยมีแขกรับเชิญ 2 คน คือ บอย - อนุวัฒน์ สงวนศักดิ์ภักดี ( บอย PEACEMAKER ) และ เภา - รัฐพล พรรณเชษฐ์ อดีตมือกีตาร์ BODYSLAM ปัจจุบันออกอัลบั้มเดี่ยวชื่อ PAO PRESENT PERFECT
9 ตุลาคม 2548 คอนเสิร์ต BIG BODY จัดร่วมกับวงร็อกรุ่นพี่ บิ๊กแอส
22 เมษายน 2549 คอนเสิร์ต M-150 สุดชีวิตคนไทย ร่วมกับ บิ๊กแอส โปเตโต้ เสก โลโซ และ ลานนา คัมมินส์

วันศุกร์ที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

อุซเบกิสถาน ประวัติศาสตร์
(รอเพิ่มเติมเนื้อหา)

การเมือง
ประเทศอุซเบกิสถานแบ่งออกเป็น 12 จังหวัด (provinces - viloyatlar) 1 สาธารณรัฐปกครองตนเอง* (autonomous republic - respublika) และ 1 นครอิสระ** (independent city - shahar) ได้แก่

การแบ่งเขตการปกครอง
(รอเพิ่มเติมเนื้อหา)

เศรษฐกิจ
(รอเพิ่มเติมเนื้อหา)

วันพุธที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

จังหวัดฮกไกโด
ฮกไกโด หรือ ฮอกไกโด (「北海道」 Hokkaidō) (ไอนุ: โมเซอ) แต่เดิมฮกไกโดถูกเรียกว่า เอโซะ ฮกไกโดเป็นชื่อจังหวัดและเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับสองในประเทศญี่ปุ่น รองจากเกาะฮนชู แต่มีอุโมงค์ใต้ทะเลเซกังเชื่อมถึงกัน นอกจากนี้ฮกไกโดยังเป็นเขตการปกครอง ซึ่งประกอบไปด้วยหมู่เกาะ โดยมีเกาะฮกไกโดเป็นศูนย์กลาง และเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของเขต คือ ซัปโปะโระ
ฮกไกโดเป็นเขตที่มีคนอาศัยอยู่เบาบาง มีประชากรทั้งเกาะประมาณ 5 ล้านคน คนส่วนใหญ่ย้ายมาจากเกาะฮนชูเมื่อราว 100 กว่าปีก่อน โดยเป็นแหล่งที่ซามูไรแพ้สงครามจึงต้องหนีมาอยู่ที่เกาะนี้ ความจริงแล้วที่เกาะนี้มีชนพื้นเมืองอาศัยอยู่มานานแล้ว คือ ชาวไอนุ แต่โดนกลืนชาติไป ปัจจุบันหลงเหลืออยู่น้อยมากและมีชีวิตเช่นชาวญี่ปุ่นทั่วไป
ฮกไกโดเป็นเขตที่มีอากาศหนาวเย็น โดยเฉลี่ยจะมีหิมะท่วมอยู่ทั่วไปประมาณ 4-6 เดือน ในถดูหนาวจะมีอุณหภูมิ -20 ถึง 5 องศาเซลเซียส ในหน้าร้อนจะมีอุณหภูมิ 15 ถึง 30 องศาเซลเซียส ในด้านภูมิประเทศเป็นภูเขาเป็นส่วนใหญ่ ในบริเวณที่ราบลุ่มก็จะเป็นเมืองที่คนอาศัย โดยจะหนาแน่นในบริเวณเมืองซัปโปะโระ ซึ่งมีอากาศอุ่นกว่าบริเวณต่าง ๆ ของเกาะ แต่ก็ยังหนาวกว่าเมืองอื่น ๆ ในเกาะฮอนชู
ฮกไกโดเป็นเกาะที่มีธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ มีทิวทัศน์ที่สวยงาม ชาวญี่ปุ่นจากส่วนอื่น ๆ ของประเทศจึงนิยมมาตากอากาศหรือย้ายมาอยู่อาศัยและทำงานเป็นจำนวนมาก

ชื่อฮกไกโด
ฮกไกโดเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวไอนุตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ชื่อสถานที่หลายแห่งบนเกาะ เช่น เมืองซัปโปะโระ ก็เป็นภาษาไอนุ
ฮกไกโดเคยมีชื่อว่า เอโซะ จนสิ้นยุคเมจิ ภายหลังสงครามโบชินเมื่อปี พ.ศ. 2411 (ค.ศ. 1868) พวกโทกุงะวะซึ่งนำโดย เอะโนะโมะโตะ ทะเกะอะกิ ได้ประกาศเป็นรัฐอิสระ แต่ก็ล่มสลายในปี พ.ศ. 2412 (ค.ศ. 1869) ภายหลังได้ถูกแบ่งเขตการปกครองเป็น 4 ส่วน

ภูมิศาสตร์
ฮกไกโดเป็นเขตการปกครองเดียวในประเทศญี่ปุ่น ที่มีการแบ่งเป็นเขตการปกครองย่อย เนื่องจากเขตฮกไกโดมีขนาดใหญ่มาก แต่ละส่วนของเกาะนั้นห่างไกลจากซัปโปะโระมาก จึงจำเป็นต้องมีการปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ อะบะชิริ ฮิดะกะ ฮิยะมะ อิบุริ อิชิกะริ คะมิกะวะ คุชิโระ เนะมุโระ โอะชิมะ รูโมย ชิริเบะชิ โซะระชิ โซยะ และโทะกะชิ

เขตการปกครองย่อย
ฮกไกโดมีชื่อว่าเป็นดินแดนที่มีฤดูร้อนที่เย็นสบาย จึงเป็นที่นิยมสำหรับนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นจากส่วนอื่น ๆ ของประเทศ ส่วนในฤดูหนาวก็จะมีหิมะมากและหนาวนานอยู่ประมาณครึ่งปี (ปลายเดือนพฤศจิกายนจนถึงต้นเดือนเมษายน) แม้อุณหภูมิโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 22°C (72°F) แต่เดือนมกราคมจะมีช่วงอุณหภูมิต่ำมากประมาณ -12°C ถึง -4°C (10°F ถึง 25°F)
ในระหว่างฤดูหนาว ทะเล Okhotsk ทางตะวันออกของเกาะจะกลายเป็นน้ำแข็งทำให้การเดินทางทางทะเลแถบน้ำเป็นไปได้ยาก ต้องใช้เรือตัดน้ำแข็ง ส่วนการประมงก็ต้องรอจนกว่าจะสิ้นฤดูหนาว
เนื่องจากฮกไกโดเป็นดินแดนหิมะ ที่เมืองซัปโปะโระจึงมีการจัดเทศกาลหิมะเป็นประจำทุกปี ในราวต้นเดือนกุมภาพันธ์

ภูมิอากาศ
เมืองสำคัญๆบนเกาะฮกไกโด ได้แก่ ซัปโปะโระซึ่งเป็นเมืองหลวง นอกจากนั้นยังมีฮะโกะดะเตะที่อยู่ทางใต้ของเกาะเป็นเมืองท่า และยังมีเมืองฮาซาฮิคาวาที่อยู่ตอนกลางของเกาะ

เศรษฐกิจ
ฮกไกโดเชื่อมกับเกาะฮอนชูทางอุโมงค์เซกัง นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เดินทางมาฮกไกโดโดยทางเครื่องบิน โดยมาลงที่สนามบินชิโตะเซะในเมืองชิโตเซะ ซึ่งอยู่ห่างจากซัปโปะโระเพียง 40 นาทีโดยรถไฟ เที่ยวบินระหว่างโตเกียวและชิโตะเซะมีมากถึง 45 เที่ยวต่อวัน (3 สายการบิน) ซึ่งนับว่าติดอันดับโลก ฮกไกโดยังมีสายการบินเป็นของตัวเองชื่อ Air Do ซึ่งก็มาจากชื่อของเกาะฮกไกโดนั่นเอง นอกจากเครื่องบินแล้วฮกไกโดยังมีท่าเรือเฟอรี่ที่สามารถเดินทางไปยังเกาะต่าง ๆ ได้ แต่จะใช้เวลาค่อนข้างมาก
ส่วนภายในฮกไกโดนั้นจะใช้รถไฟเป็นหลัก (Hokkaido Railway Company) แต่บางเมืองต้องเดินทางด้วยรถประจำทางหรือรถยนต์ส่วนตัวเท่านั้น สำหรับรถไฟใต้ดินมีเฉพาะที่เมืองซัปโปะโระ

วันอังคารที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐


(คน) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 5 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก (ควาย) และก่อนหน้า (ระฆัง) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรต่ำ ในระบบไตรยางค์ ออกเสียงอย่าง ค (ควาย) นิยมเรียกกันว่า "ฅ คน"
ฅ เป็นอักษรที่เลิกใช้แล้ว ไม่มีคำศัพท์ในหมวดคำ ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน แต่ยังมีการใช้ ฅ อยู่บ้างในบางแวดวง นัยว่าเพื่อเป็นการอนุรักษ์ให้ตัวอักษรไทยมีใช้ครบ 44 ตัว เท่าที่พบเห็น มักจะใช้ในคำว่า ฅน (คน) โดยเฉพาะในสถานบันเทิงต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม ในแบบเรียนอักษรไทย ยังคงมีอักษร ฅ อยู่
อักษร ฅ นี้เป็นอักษรของไทยดั้งเดิม ไม่ปรากฏในชุดอักษรภาษาอื่น ๆ (หมายความว่า ในชุดอักษรภาษาอื่นๆ ที่ลำดับอักษร แบบอักษรอินเดีย เช่น อักษรเทวนาครี อักษรขอม อักษรมอญ ฯลฯ ล้วนไม่มีตัวอักษร ฅ) น่าจะเป็นการประดิษฐ์แทรกเช่นเดียวกับอักษร ฯลฯ ที่ไทยได้เติมเข้าในวรรคอักษรแบบอินเดีย โดยเหตุผลเพื่อต้องการใช้แทนเสียงที่เรามีอยู่ให้ครบถ้วน โดยมีพัฒนาการควบคู่กันมากับอักษร ฃ (ขวด)

ฅฅ ประวัติการใช้ ฅ
หลักฐานเก่าแก่ที่สุดที่ปรากฏการใช้ ในภาษาไทย คือ ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง หรือศิลาจารึกหลักที่ 1 มีการใช้ ฅ อยู่ 2 คำ ได้แก่ "แฅว" (แคว)และ "ฅุ๋ม" (คุ้ม, ในสมัยนั้น เครื่องหมายกากบาท ตรงกับไม้โทในการเขียนแบบปัจจุบัน)การใช้ ฅ ในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงเป็นไปอย่างแม่นยำ หมายความว่า ไม่มีการใช้ ค ในคำที่ใช้ ฅ นั้นเลย อย่างไรก็ตาม ในสมัยใกล้เคียงกัน มีการใช้ ฅ ในศิลาจารึกหลักอื่น ได้แก่ คำว่า ฅ (คอ),ฅ้อน (ค้อน), ฅา (คา), ฅาบ (คาบเวลา), ฅีน (คืน), แฅน (ดูแคลน), แฅ่ง (แข้ง), แฅว (แคว), ฅวาม (ความ) และ ฅวาง (คว้าง)
ในสมัยหลังศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง เริ่มมีการใช้ และ สับสน และใช้แทนที่กันในหลายแห่ง เช่น ใช้ "ฅ่ำ" บ้าง "ค่ำ" บ้าง ทั้งนี้มีคำว่า ฅวาม เพิ่มเข้ามา ครั้นมาถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา การใช้ ฅ เริ่มลดลงอย่างมาก แต่ก็ยังมีใช้ ทว่าไม่ปรากฏหลักเกณฑ์การใช้ ฅ ในตำราว่าด้วยอักขรวิธีของไทยในสมัยนั้น
ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 5 พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ได้ระบุคำที่เขียนด้วย ฅ ในหนังสือชื่อ นิติสารสาธก เล่ม 1 มีอยู่คำเดียว คือ ฅอ (คอ)
ครั้นถึงสมัย รัชกาลที่ 7 เมื่อมีปทานุกรมของกระทรวงธรรมการ พ.ศ. 2470 ก็ระบุว่า "ฅ เป็นพยัญชนะตัวที่ห้าของพยัญชนะไทย แต่บัดนี้ไม่มีที่ใช้แล้ว" เป็นอันหมดวาระของ นับแต่นั้นมา

วันจันทร์ที่ ๑๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

พ.ศ. 1009
พุทธศักราช 1009 ใกล้เคียงกับ

เมษายน ค.ศ. 466 - มีนาคม ค.ศ. 467
มหาศักราช 388 พ.ศ. 1009 วันเกิด

วันอาทิตย์ที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐


คารอน ภาพวาดคารอนตามจินตนาการของนักดาราศาสตร์
คารอน (Charon) เป็นดวงจันทร์บริวารของดาวพลูโต ที่ถูกค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2521 โดยเจมส์ คริสตี นักดาราศาสตร์แห่งหอดูดาวกองทัพเรือสหรัฐ ทุกวันนี้นักดาราศาสตร์พบว่า คารอน มีขนาดใกล้เคียงกับพลูโต คือ มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1207 กิโลเมตร ขณะที่พลูโตมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2390 กิโลเมตร และจากนิยามใหม่ของดาวเคราะห์และดาวเคราะห์แคระ อาจถือได้ว่า คารอนและพลูโต เป็นดาวคู่ ที่เป็นดาวเคราะห์แคระอยู่ในแถบไคเปอร์ ภายหลังการค้นพบดวงจันทร์บริวารอีกสองดวงของพลูโต คือ นิกซ์ (Nix) และไฮดรา (Hydra) เมื่อ พ.ศ. 2548 บางครั้งนักดาราศาตร์ก็อ้างอิงถึงคารอนว่า พลูโต I


รถดีเซลราง (diesel railcar) เป็นรถโดยสารที่มีเครื่องยนต์ดีเซลขับเครื่องด้วยตนเอง เดิมมีการรถไฟได้นำรถชนิดนี้มาใช้งานในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2470 ซึ่งเป็นเครื่องกลไอน้ำ สร้างโดย บริษัทบอลด์วิน สหรัฐอเมริกา รถดีเซลรางรุ่นแรกๆ ที่นำมาใช้บริการรับส่งผู้โดยสารชานเมืองในปี พ.ศ. 2475 นั้น มีหมายเลข 11 ถึง 16 เป็นรถที่ประกอบด้วยรถกำลัง 1 คัน และรถพ่วงสำหรับผู้โดยสารล้วนอีก 1 คัน
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง รถดีเซลรางรุ่นใหม่ๆ ได้รับการพัฒนาให้มีสมรรถนะสูง มีความคล่องตัวในการใช้งานและสามารถพ่วงต่อกันคราวละหลายชุดได้ โดยแต่ละชุดเครื่องยนต์ทำงานพร้อมกับคันที่มีคนควบคุมที่ต้นขบวน
รถดีเซลรางมีคุณสมบัติที่เหนือกว่าขบวนรถซึ่งใช้รถลากจูงหลายประการ คือ ขบวนการดีเซลรางเร่งความเร็วและหยุดได้เร็วกว่า จึงทำให้ใช้เวลาในการเดินทางน้อยกว่าและเมื่อถึงปลายทาง พนักงานขับรถเปลี่ยนไปขับท้ายขบวนก็สามารถออกรถได้ทันที ไม่ต้องเปลี่ยนตั้งหัวขบวนใหม่เช่นการใช้รถจักร นอกจากนั้นยังสามารถพ่วงติดต่อกันได้ไม่จำกัด เพราะรถทุกชุดขับเคลื่อนด้วยตัวเอง รถที่เป็นตัวกำลังจะทำงานสัมพันธ์กันทุกเครื่องยนต์ ทำให้เฉลี่ยนกำลังขับเคลื่อนออกไปตลอดขบวนขึ้นทางลาดชันได้ดีกว่า
นอกจากความคล่องตัวแล้ว รถดีเซลรางยังสะดวกในการจัดทำขบวนรถสั้นๆ เพียงชุดเดียว (2 คัน) ให้พอเหมาะกับสภาพการโดยสาร (รถคันกำลัง จุที่นั่ง 78 คน ยืน 35 คน และคันพ่วงมี 84 ที่นั่ง ยืน 35 คน) ในแง่ความปลอดภัยของผู้โดยสาร รถทุกคันมีประตูขึ้นลง เปิดปิดโดยระบบอัตโนมัติที่พนักงานขับรถจะเป็นผู้ควบคุม

ดีเซลรางดีเซลราง รูปภาพ

วันเสาร์ที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

กลุ่มดาวมงกุฎใต้
จังหวัดกิฟุ (「岐阜県」 Gifu-ken) ตั้งอยู่บริเวณภาคจูบุของประเทศญี่ปุ่นบนเกาะฮอนชูเมืองหลวงอยูที่เมืองกิฟุซิตี้ จังหวัดที่อยู่ติดกับเมืองนาโงย่า ตั้งอยู่บนเกาะฮอนชู เมืองหลวง คือ กิฟุ เด่นในด้านการเกษตร งานไม้ อุตสาหกรรมด้านพลาสติก


จังหวัดกิฟุ

วันศุกร์ที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

.cz
บทความนี้ใช้ชื่อที่ใช้อักษรในภาษาอื่น เนื่องจากต้องการคงไว้ตามต้นฉบับ หรือไม่มีชื่อภาษาไทยที่เหมาะสม
.cz เป็นโดเมนอินเทอร์เน็ตระดับบนสุดตามรหัสประเทศ (ccTLD) สำหรับสาธารณรัฐเช็ก เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2537

วันพฤหัสบดีที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐


(จุฬา) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 42 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก (หีบ) และก่อนหน้า (อ่าง) ออกเสียงอย่าง ล (ลิง) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรต่ำ ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า "ฬ จุฬา"
ปัจจุบัน ฬ ไม่มีที่ใช้เป็นพยัญชนะต้นของคำ
ฬฬ

วันพุธที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

พันธมิตรนอกนาโต
พันธมิตรนอกนาโต (อังกฤษ: Major non-NATO ally อักษรย่อ MNNA) เป็นคำที่สหรัฐอเมริกาใช้เรียกประเทศพันธมิตรที่ไม่ได้อยู่ในองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต)
สหรัฐอเมริกาแต่งตั้งให้ไทยเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศพันธมิตรนอกนาโต อย่างเป็นทางการ เมื่อ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2546

วันอังคารที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐



วิริยา สมาชิกกองกำลังต่อต้าน GM กลุ่มที่ 1 เป็นกำลังสำคัญของกลุ่มในการต่อสู้กับ GM ในสงครามบ้านวินเชสเตอร์ ปรากฏตัวครั้งแรกในฐานะ " คุณกระต่าย"




วิริยา
ข้อมูลทั่วไป



บทบาทใน Neo Universe
เป็นสาวน้อยปริศนาในชุดนักเรียนมัธยมต้นตามแบบโรงเรียนรัฐบาลที่เจอกับกานดาในตลาด (ตอนที่ 6) ซึ่งกานดามารู้ชื่อของเธอในภายหลัง และติดใจเธอตรงที่เธอมีความ "...เจิดจรัสกับแสงดาวบนท้องฟ้า" (ตอนที่ 11 - 12) เธอเป็นนักเรียนโรงเรียนเดียวกับเกษม และยังเป็นเพื่อนของมัจฉาด้วย


วันจันทร์ที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

นามานุกรม

นามานุกรมคือ รายชื่อของบุคคล องค์การสถาบัน โดยมีการจัดเรียงอย่างเป็นระบบ โดยทั่วไปจะเรียงตามลำดับตัวอักษรหรือตามลำดับหมวดหมู่ โดยให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานที่อยู่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และอื่นๆ ในภาษาไทยใช้คำว่า นามานุกรม หรือ ทำเนียบนาม



วันเสาร์ที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

สัตว์บก

สัตว์บก ส่วนใหญ่เป็นสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีวิวัฒนาการสูง มีความฉลาดผิดกับสัตว์พวกอื่น ๆ แบ่งเป็น 3 พวกใหญ่ ๆ คือ พวกที่ออกลูกเป็นไข่ พวกที่มีกระเป๋าหน้าท้อง และพวกที่มีรก โดยสัตว์ตัวเมียมีนมให้ลูกกิน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบางชนิดอาศัยอยู่บนบก บางชนิดอาศัยอยู่ในน้ำ


วันศุกร์ที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐



สรีรวิทยากล้ามเนื้อ เป็นสาขาหนึ่งของวิชาสรีรวิทยาที่ว่าด้วยเรื่องของลักษณะ คุณสมบัติ การทำงานของกล้ามเนื้อ ในร่างกายของมนุษย์ จะมีกล้ามเนื้ออยู่ราว 600 มัด ซึ่งใช้ทำหน้าที่สำคัญในสิ่งมีชีิวิต อย่างเช่น การเคลื่อนไหวร่างกาย การหายใจ การทรงตัว การย่อยอาหาร หมุนเวียนเลือด และการรักษาอุณหภูมิของร่างกาย เป็นต้น


สรีรวิทยากล้ามเนื้อ
สารบัญ
กล้ามเนื้อแบ่งตามโครงสร้างและหน้าที่ได้เป็น 3 ชนิด คือ กล้ามเนื้อลาย กล้ามเนื้อเรียบ และกล้ามเนื้อหัวใจ



โครงสร้างของกล้ามเนื้อ
กล้ามเนื้อลาย (Skeletal Muscle) ทำหน้าที่สำคัญเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ การหายใจ การทรงตัว และการรักษาอุณหภูมิของร่างกาย ในสิ่งมีชีวิต กล้ามเนื้อลาย เป็นส่วนประกอบที่มีมากที่สุดของร่างกาย คือ ราวๆ 44% ของน้ำหนักตัวเลยทีเดียว
เซลล์กล้ามเนื้อลาย (Skeletal Myocyte) หรือ เส้นใยกล้ามเนื้อ (Muscle Fiber) มีลักษณะเป็นแท่งทรงกระบอก (Cylinder) มีนิวเคลียสจำนวนมากในแต่ละเซลล์
กล้ามเนื้อลาย ( Skeletal muscle or Voluntary striated muscle)
เจริญมาจากตำแหน่ง mesodermal somite เรียกว่า Myotome ซึ่งเซลล์ Mesenchyme จะเปลี่ยนรูปร่างเป็นเซลล์ Myoblast สำหรับบริเวณศรีษะ จะมีการเจริญมาจาก Neural ectoderm หรือ พวก mesenchymal cell เคลื่อนมาจากที่อื่น
muscle cell มีลักษณะยาวมากรูปทรงกระบอก ทำให้บางครั้งเรียก muscle fiber มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10-120 ไมโครเมตร และพบว่ามีหลาย nucleus ( multinucleated cells) เนื่องจากการเชื่อมติดกันของ myoblast หลาย ๆ อัน โดย nucleus ที่เห็นมีลักษณะยาว รูปไข่ อยู่ชิดติดผนังเซลล์ (sacrolemma)
ภายใน sacroplasm บรรจุด้วย organelles อื่นๆ เช่นเดียวกับเซลล์ ทั่วๆ ไป แต่ที่สำคัญ จะมี Myofibrils ( Microfilaments ) จำนวนมากและเรียงตัวเป็นระเบียบ แต่ละเส้นมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 ไมโครเมตร
แต่ละ muscle fiber ยึดติดกันแน่นด้วย reticular fiber ที่แทรกอยู่โดยรอบ เรียก endomysium และเมื่อ fiber หลาย ๆ เส้นมารวมกันเป็นมัด ( Bundle or fasciculi ) จะถูกล้อมรอบด้วย Dense CNT ที่เรียกว่า perimysium จากนั้นเมื่อหลายๆมัดมารวมกันเป็นมัดใหญ่ ก็จะเมื่อเนื้อเยื่อประสานล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง เรียก epimysium
ภายในกล้ามเนื้อจะมีเส้นเลือดและเส้นประสาทมาเลี้ยงเป็นจำนวนมาก พบว่าเซลล์กล้ามเนื้อจะไม่มีการเพิ่มและลดจำนวน ( Hyperplasia and Hypoplasia) แต่อาจมีการเปลี่ยนแปลงขนาดได้ คือ เมื่อมีการใช้งานมากขึ้น เซลล์จะมีขนาดใหญ่ขึ้น ( Hypertrophy) แต่หากไม่มีการใช้งาน เซลล์จะลดขนาดลง ( Hypotrophy)
การเห็นลักษณะลายตามขวางของกล้ามเนื้อลาย แถบลายตามขวางเข้มสลับจางของเซลล์ในกล้ามเนื้อนั้น เกิดจากการเรียงตัวของ myofibrils
( myofilament ) 2 ชนิด คือ
- actin ซึ่งเป็น thin myofilament มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 ไมโครเมตร เป็นแถบติดสีจางเป็น Isotropic ใน Polarized light เรียก I – band
- myosin เป็น Thick myofilament มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 ไมโครเมตร ซึ่งเป็นแถบที่ติดสี
เข้ม เป็น Anisotropic ใน Polarized light เรียก A – band
ระหว่างตรงกลางของ I – band จะมีเส้นบางๆ ที่ติดสีเข้ม เรียกว่า Z – line ซึ่งส่วนของ myofilament ที่อยู่ระหว่าง Z – line ทั้งสองเส้น เรียกว่า " Sacromere" ซึ่งถือว่าเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดในการหดตัวของกล้ามเนื้อ ดังนั้น sacromere จึงประกอบไปด้วย 1 A-band + ½ I-band ที่อยู่แต่ละข้างของ A-band (สามารถมองเห็นได้ทาง LM )
จากการศึกษาพบว่าถ้าเซลล์กล้ามเนื้อยืด I-band ก็จะยาวขึ้น แต่ถ้าเซลล์กล้ามเนื้อหดตัว I-band จะสั้นเข้าและหายไปในที่สุด ส่วนของ A-band จะมีความยาวคงที่เสมอ ยกเว้นบริเวณแถบกลางของ A-band ที่เรียกว่า H – zone ( โดยมี M – line เป็นเส้นตรงกลางของ H-zone พบในกล้ามเนื้อแมลง ) จะมีการยืดหดตาม I-band
การทำงานของ myofibrils เมื่อ myofibrils หดสั้นจะเป็นผลทำให้เกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อ myofibrils แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. Thick myofilaments [myosin] มีลักษณะเป็นเส้นยาวประมาณ 1.5 ไมโครเมตร มีหัวกลมที่หักยื่นออกมาทางด้านข้าง พบอยู่ตรงกลางของ sacromere และเป็นส่วนประกอบของ A-band และ H-zone นอกจากนั้นยังมีส่วนประกอบที่เป็น ATPase activity, actin-binding site และ cross bridge เมื่อใช้ proteolytic enzyme ย่อย ทำให้ myosin แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ heavy eromyosin (HMM) และ light meromyosin (LMM) ส่วนของ HMM เป็นส่วนที่มีหัวกลมเกี่ยวข้องกับ hydrolysis ของ ATP
2. Thin myofilaments [actin] มีความยาว 1.0 ไมโครเมตร ลักษณะเป็นเส้นยาวบางครั้ง เรียกว่า F-actin ที่จริงแล้วเส้นนี้ประกอบด้วยเส้น 2 เส้น พันเป็นเกลียวกันคล้าย double helix โดยแต่ละเส้นประกอบด้วย globular (G-actin) monomers ที่ต่อเข้าด้วยกัน F-actin มีบริเวณเฉพาะที่ไปจับกับ myosin และมีร่องสำหรับโปรตีน torponin และ tropomyosin ไปยึดเกาะ ส่วนใหญ่แล้ว thin myofilaments เป็นองค์ประกอบอยู่ใน I-band และอาจปะปนในส่วน A-band ได้ โดยเฉพาะในขณะที่เซ�! ��ล์กล้ามเนื้อนั้นหดตัว
Tropomyosin เป็นโปรตีนที่ประกอบไปด้วย 2 Polypeptides chains, tropomyosin moleclules พบพันรอบ F-actin
Troponin เป็นโปรตีน ที่ประกอบไปด้วย 3 subunits คือ Troponin –T (TnT) เป็นส่วนที่ติดแน่นกับ Tropomyosin, Troponin-C (TnC) เป็นส่วนที่จับกับ calcium ions , Troponin-I (TNI) เป็นส่วนที่ยับยั้งไม่ให้ actin เกาะกับ myosin
Organelles ที่สำคัญเกี่ยวกับการหดตัวของกล้ามเนื้อลาย ได้แก่
Sarcoplamic reticulum
เป็น Specialized smooth endoplasmic reticulum ที่อยู่ใน sacroplasm ของเซลล์กล้ามเนื้อ
โดยมีลักษณะที่เปลี่ยนไปเป็นระบบท่อที่ต่อเนื่อง เรียก membranous sarcotubules ผิวเปลือกของท่อเหล่านี้ทำหน้าที่เกี่ยวกับควบคุมขบวนการหดตัวของเซลล์กล้ามเนื้อ ตลอดจนควบคุมระดับแคลเซียม ซึ่งท่อเหล่านี้จะเรียงขนานกับแกนความยาวของ A-band แล้วแตกแขนงเป็นร่างแหคลุมบริเวณ H –zone ท่อบางส่วนมีขนาดใหญ่ขึ้น เรียกใหม่ว่า Terminal cisternae ซึ่งเป็น 2 ท่อขนานกัน โดยแต่ละท่อประกบคู่กันและ�! �ลุมอยู่ปลาย I-band และ A-band
Transverse tubule system (T-system)
เป็น membranous tubules ที่ invagination มาจาก surface sarcolemma ดังนั้นจึงเป็นทาง
ติดต่อจากผิวด้านนอกของเซลล์เข้าไปภายใน sarcoplasm ของเซลล์กล้ามเนื้อ พบว่าอยู่ระหว่างกลางของ Two terminal cisternae ที่ชิดกัน คือบริเวณ A–I junction เรียกบริเวณที่พบกันของท่อว่า Triad
ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับส่งผ่าน electrical impulse จากภายนอกเซลล์เข้าสู่เซลล์ จึงทำให้มีการหดตัวของเซลล์กล้ามเนื้อ
Skeletal muscle fiber สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด คือ
Red muscle
ในสภาวะสดๆ จะมองเห็นเป็นสีแดง เพราะมีส่วนประกอบของ myoglobin และ เส้นเลือดเป็นจำนวนมาก เซลล์มีขนาดเล็ก ภายในเซลล์บรรจุ mitochondria เป็นจำนวนมาก มี mitochondrial cristae ค่อนข้างใหญ่ แสดงว่า การทำงานของกล้ามเนื้อชนิดนี้ต้องเกี่ยวข้องกับการใช้พลังงาน oxidative phosphorylation ซึ่งจะมีการหดตัวอย่างช้าๆ (Slow twitch) แต่สามารถทำงานทนอยู่ได้เป็นระยะเวลานานๆ เช่น กล้ามเนื้อแขนและขา เป็นต้น
White muscle
ในสภาวะสดๆ เห็นเป็นสีขาว เพราะมี glycogen จำนวนมาก มีเส้นเลือดมาเลี้ยงน้อย เซลล์ของกล้ามเนื้อนี้มีขนาดใหญ่และภายในเซลล์มี mitochondria ขนาดเล็กและจำนวนน้อย การทำงานของกล้ามเนื้อชนิดนี้ ได้พลังงานจาก anaerobic glycolysis ดังนั้นสามารถหดตัวได้เร็ว ( Fast switch) แต่ไม่ทนทานต่อการทำงาน เช่น กล้ามเนื้อหน้าอก เป็นต้น
Intermediate muscle
มีลักษณะกึ่งกลางระหว่างกล้ามเนื้อลายทั้ง 2 ชนิด ส่วนใหญ่มีโครงสร้างคล้าย red muscle แต่มี sacromere ที่เล็กกว่า



กล้ามเนื้อลาย
เป็นกล้ามเนื้อซึ่งไม่ลายตามขวาง พบในอวัยวะภายในซึ่งไม่อยู่ในอำนาจจิตใจ เช่น ผนังทางเดินอาหารตั้งแต่หลอดอาหารส่วนกลางไปจนถึงลำไส้ใหญ่เรียก เรคตัมผนังเส้นเลือด, ผนังมดลูกผนังกระเพาะปัสสาวะ, ม่านตา และกล้ามเนื้อโคนขา เป็นต้น



กล้ามเนื้อเรียบ
มีลักษณะคล้ายกล้ามเนื้อลายแต่ไม่อยู่ในอำนาจจิตใจ โดยจะทำงานหดตัวเป็นจังหวะด้วยตัวเอง เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจจะแยกเป็นแขนง



กล้ามเนื้อหัวใจ


�
การเร้าให้หดตัวของกล้ามเนื้อ



แหล่งพลังงานของกล้ามเนื้อ


วันพฤหัสบดีที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

อินทิรา

อินทิรา คานธี (Indira Gandhi) (ภาษาฮินดี:इन्दिरा प्रियदर्शिनी गान्धी) (19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2460-31 ตุลาคม พ.ศ. 2527) เป็นอดีตนายกรัฐมนตรีของอินเดีย และเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกในอินเดียที่เป็นผู้หญิง
คานธีเป็นหลานสาวของนายกรัฐมนตรี คนแรกของอินเดีย จาวาฮารัล เนรู เป็นแม่ของ ราจิฟ คานธี ไม่มีความสัมพันธ์กับ มหาตมะ คานธี


วันพุธที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

กุหลาบน่าน




ชื่อพื้นเมืองอื่น: กุหลาบเอราวัณ, กุหลาบไอยรา
ชื่อสามัญ:
ชื่อวิทยาศาสตร์: Aerides rosea Lodd. ex Lindl. & Paxt.
สกุล: Aerides
วงศ์: ORCHIDACEAE
วงศ์ย่อย: Vandoideae
ประเภท:
ลักษณะ:
การเติบโต:
ฤดูกาลออกดอก: มีนาคม - มิถุนายน
แหล่งที่พบ: