วันอาทิตย์ที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐



ไม้ม้วน (ใ) ใช้เป็นสระ ใอ เมื่ออยู่หน้าพยัญชนะต้น


ไม้ม้วน
ประวัติ
ไม้ม้วนมีปรากฏในภาษาเขียนของไทย มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ในศิลาจารึกหลักที่หนึ่ง ของพ่อขุนรามคำแหง ในคำว่า ใคร ใคร่ ใด ใส ใหญ่ ใน ให้ ใช้ ใต้ ใศ่ ใว้ เป็นต้น อาจกล่าวได้ว่าไม้ม้วนเป็นอักษรเฉพาะในภาษาไทยสยาม และไม่ปรากฏในภาษาเขียนในตระกูลภาษาไทอื่นๆ แม้กระทั่งในอักษรตระกูลอินเดีย ภาษาอื่นๆ
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีตำราเรียนระบุการใช้ไม้ม้วน ในคำศัพท์จำนวน 20 คำ โดยมีคำกลอนแต่งไว้ในหนังสือจินดามณีดังนี้
ส่วนในหนังสือหนังสือประถมมาลา แต่งโดยพระเทพโมลี (ผึ้ง) ในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้ให้หลักการใช้ไม้ม้วน โดยที่สองบทท้ายเป็นคำกลอนจากตำราจินดามณีนั่นเอง ดังนี้
หลังจากนั้น ยังมีบทกลอน (กาพย์ยานี) ที่สอนการใช้ไม้ม้วน ที่รู้จักกันดีจนปัจจุบัน ดังนี้
เป็นที่น่าสังเกตว่า การใช้ไม้ม้วนนั้น จำกัดอยู่ที่คำศัพท์ 20 คำ มาตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นอย่างน้อย และคำศัพท์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น จะใช้ไม้มลายทั้งสิ้น (เว้นแต่ลูกคำที่แตกจากแม่คำ ซึ่งใช้ไม้ม้วนอยู่แล้ว) แม้คำศัพท์เฉพาะ ที่เป็นชื่อต่างๆ ก็ไม่นิยมที่จะใช้ไม้ม้วนนอกเหนือจาก 20 คำดังกล่าว


ไม่มีความคิดเห็น: